สรุปคำแนะนำการลงทุนประจำวันที่ 26 - 30 พฤษภาคม 2568
มุมมองรายสินทรัพย์ประจำสัปดาห์
ตราสารทุน
Upside ของตลาดหุ้นในระยะสั้นเริ่มจำกัดหลังจากรีบาวน์มาได้ดีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ มี Valuation ตึงตัว เราจึงแนะนำทยอยล็อคกำไรสำหรับการลงทุนระยะสั้น ขณะที่การลงทุนระยะกลางเรายังชื่นชอบหุ้น ROW เนื่องจากมี valuation ยังไม่แพง เช่น หุ้นจีน A-Shares หุ้นอินเดีย หุ้นเวียดนาม และหุ้นไทย รวมถึงหุ้น Quality ในสหรัฐฯ
ตราสารหนี้
เน้นลงทุนในตรารสารหนี้อายุประมาณ 3-5 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนด้านการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะที่อาจกดดันตราสารหนี้ระยะยาว โดยเราชื่นชอบตราสารหนี้โลกมากกว่าตราสารหนี้ไทย จาก Bond Yield ที่อยู่ในระดับสูงกว่า แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แต่เราประเมินว่า Yield ของไทยอาจลงได้อีกไม่มากนัก
สินทรัพย์ทางเลือก
ราคาทองคำแกว่งตัวอยู่ในกรอบ โดยได้แรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในการป้องกันความเสี่ยงการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะ เน้นทยอยสะสมระยะยาว จากความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังสูง
[Theme Play]
India Equity: ตลาดหุ้นอินเดียส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยที่ Valuation ยังอยู่ในระดับน่าสนใจ และคาดการณ์กำไรปีนี้เติบโตโดดเด่น ขณะที่ภาคเศรษฐกิจเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และมีแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ รวมถึงธนาคารกลางอินเดียที่มีท่าทีส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงต่อซึ่งช่วยส่งเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เศรษฐกิจอินเดียได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจำกัด โดยอินเดียใกล้บรรลุข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ นับเป็นสัญญาณบวกต่อหุ้นอินเดียเช่นกัน ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างอินเดีย-ปากีสถานคาดอยู่ในวงจำกัด
China A-Shares: จีนได้ปรับเศรษฐกิจมานานเพื่อเตรียมรองรับสงครามการค้า อีกทั้งรัฐได้หันกลับมาสนับสนุนภาคเอกชน โดย A-Shares ราคายัง Laggard เมื่อเทียบกับ H-Shares จึงมีโอกาสปรับตัวขึ้นโดยเฉพาะหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเริ่มเห็นผลชัดเจนมากขึ้น ล่าสุดจีนแถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานการเงินหลัก หนุน Sentiment หุ้นจีน ปัจจุบันดัชนี CSI 300 มี Valuation ไม่แพง และกำไรมีแนวโน้มฟื้นตัว นอกจากนี้ A-Shares มีความสัมพันธ์ต่อหุ้นโลกและหุ้นสหรัฐฯ ต่ำ ทำให้อาจได้รับผลกระทบจำกัดจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า
Fixed Income: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ (Bond yield) อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี และยังอาจไม่ได้ลดลงในระยะเวลาอันใกล้ จากผลกระทบของการขึ้นภาษีทั่วโลกที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเริ่มค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่ช่วยในการกระจายความเสี่ยงที่มีความจำเป็นในภาวะความผันผวนจากสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ แม้ล่าสุดจะมีความคืบหน้าในการเจรจาการค้าก็ตาม โดยให้เน้นลงทุนในตรารสารหนี้อายุประมาณ 3-5 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนด้านการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะที่อาจกดดันตราสารหนี้ระยะยาว
Vietnam Equity: ตลาดหุ้นเวียดนามสถานการณ์ดูดีขึ้นหลังทรัมป์เลื่อนการขึ้นภาษีออกไป 90 วัน และการเจรจาการค้าเริ่มมีทิศทางดีขึ้น รวมถึงรัฐบาลเวียดนามแสดงท่าทีตั้งใจอย่างหนักในการเจรจากับสหรัฐฯ ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามเดินหน้านโยบายปฏิรูปเชิงลึกผ่าน Resolution 68 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ยกระดับภาคเอกชนสู่แรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังมีความเสี่ยงเนื่องจากพึ่งพาการส่งออกเกือบ 100% ของ GDP ซึ่งหากสถานการณ์พลิกผัน เศรษฐกิจเวียดนามก็อาจได้รับผลกระทบหนักได้ โดยแนะนำให้ทยอยลงทุนในหุ้นเวียดนามเมื่อย่อตัวเท่านั้น ไม่ไล่ราคาในช่วงนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในช่วง 90 วันข้างหน้าที่ทรัมป์ยืดระยะเวลาเก็บภาษีตอบโต้ออกไป
[Event Play]
TH Equity: หุ้นไทยยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นตลาดทุนของภาครัฐ ผ่านแรงซื้อของกองทุน ThaiESG Extra และมาตรการอื่นๆ อย่าง Jump+ และ TISA ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนมิ.ย. ซึ่งช่วยฟื้นความเชื่อมั่น และจำกัด downside ของดัชนี ล่าสุดดัชนี SET ปรับตัวหลุดระดับ 1,200 จุด จาก Sentiment หุ้นโลกที่เริ่มชะลอลง ประกอบกับปัจจัยด้านการเมืองกลับมากดดันตลาดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม Valuation ของตลาดหุ้นไทยยังถูกเมื่อเทียบกับอดีตและภูมิภาค ทำให้หุ้นไทยยังมีความน่าสนใจ ณ ราคานี้ นอกจากนี้ การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ-ไทย เริ่มมีความหวัง หลังจาก รมต.คลังสหรัฐฯ กล่าวถึงความคืบหน้าเจรจาการค้ากับภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงไทยว่ายื่นข้อเสนอที่ดีมาก ทำให้มีแนวโน้มว่าไทยอาจบรรลุข้อตกลงได้เร็วคล้ายกับจีน นอกจากนี้ ธปท. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นไทยในระยะข้างหน้า
Global Healthcare: เราประเมินว่าราคาหุ้นในกลุ่ม Global Healthcare ได้ปรับตัวลงมาสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว ทั้งจากประเด็นภาษียาและปัจจัยลบเฉพาะตัว ขณะเดียวกัน Valuation ในปัจจุบันอยู่ในโซน Deep Value โดยซื้อ-ขาย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างมาก (-2 S.D.) และสัญญาณในเชิงเทคนิค สะท้อนโอกาสในการฟื้นตัวได้ในระยะถัดไป นอกจากนี้ กลุ่ม Healthcare ยังมีลักษณะเป็นหุ้นแนว Defensive ที่สามารถรับมือกับความผันผวนของตลาดได้ดี จึงมีโอกาสได้รับความสนใจจากการสลับกลุ่มลงทุน (sector rotation) โดยเฉพาะในช่วงที่ดัชนี S&P 500 เริ่มเข้าสู่ระดับ Valuation ที่ตึงตัว และความกังวลหนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯ