PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 20 พ.ค. 2568

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|20 May 25 7:55 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2568 และ ตัวเลขกิจกรรมเศรษฐกิจจีน

 

  • ภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2568 ฟื้นตัวชั่วคราวจากแรงส่งออกก่อนการขึ้นภาษี เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2568 ขยายตัว 3.1%YoY หรือ 0.7%QoQSA เท่ากับการคาดการณ์ของ InnovestX ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด (2.9%YoY) โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากการเร่งส่งออกไปยังสหรัฐฯ ก่อนการมีผลบังคับใช้ของมาตรการภาษีนำเข้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยชั่วคราวการส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวแรงที่ 12.3%YoY โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยางพารา ส่งผลให้ GDP ได้รับแรงหนุน (Contribution to growth) จากภาคต่างประเทศสูงถึง +7.0% (percentage point) การบริโภคภาคเอกชนแม้จะชะลอลงแต่ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ 2.6%YoY ส่งผลบวกต่อ GDP ที่ +1.5% (percentage point) การลงทุนภาครัฐเร่งตัวที่ 26.3%YoY จากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพาน สร้างแรงขับเคลื่อนต่อ GDP ที่ +1.2 % (percentage point) ในทางตรงข้ามการลงทุนภาคเอกชน หดตัวต่อเนื่องที่ -0.9%YoY สะท้อนความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจสินค้าคงคลัง หดตัวรุนแรง และเป็นผลลบต่อ GDP ถึง -4.7% (percentage point) สะท้อนภาคธุรกิจยังคงไม่ผลิต และเร่งระบายสินค้าคงคลังต่อเนื่อง

  • มุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจทั้งปี 2568 ขยายตัวเพียง 1.4% แม้ GDP ในไตรมาสแรกจะออกมาดี แต่ InnovestX คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ โดย GDP รายไตรมาสคาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง Q2/2568:ขยายตัวเพียง 1.6%YoY Q3:เหลือ 0.6%YoY Q4:เหลือเพียง 0.2%YoY การชะลอตัวนี้สะท้อนถึงการหมดแรงส่งจากปัจจัยชั่วคราวในไตรมาสแรก ขณะที่เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจทั้ง การส่งออก การท่องเที่ยว และภาคเกษตร เริ่มแผ่วพร้อมกัน

  • หากไม่มีการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมและทันท่วงที ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิคในช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีอยู่สูง โดยเฉพาะหากการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่ประสบความสำเร็จและสินค้าไทยถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราสูง

  • กิจกรรมเศรษฐกิจจีนเดือน เม.ย. ชะลอตัวจากผลกระทบภาษีสหรัฐฯ–อสังหาฯยังเปราะบาง ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนเมษายน 2025 สะท้อนแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และอุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ภาคการผลิตยังได้รับแรงหนุนระยะสั้นจากการเร่งส่งออกก่อนกำหนด 90 วันของการเจรจาการค้า โดยแม้ภาพรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะยังขยายตัวได้ในระดับ 6.1% YoY ซึ่งดีกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 5.7% แต่ก็ชะลอลงจากระดับ 7.7% ในเดือนมีนาคมอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนผลกระทบที่เริ่มเด่นชัดขึ้นจากคำสั่งซื้อส่งออกที่อ่อนตัวลง จากมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ขยายตัวเพียง 9.2% จาก 11.5% ในเดือนก่อนหน้า แผงวงจรรวมซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของจีนที่เติบโตเพียง 4.0% เทียบกับ 9.2% ในเดือนก่อนหน้าขณะเดียวกัน

  • ยอดค้าปลีกขยายตัวเพียง 5.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 5.9% และชะลอลงจากเดือนมีนาคมที่ 5.9% เช่นกัน สะท้อนการฟื้นตัวที่ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่โตเพียง 0.7% จาก 5.5% ในเดือนก่อน

  • ด้านการลงทุน ภาพรวมการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (FAI) ขยายตัว 4.0% YTD เทียบกับ 4.2% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ตัวเลขในเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียวขยายตัว 3.6% YoY ชะลอลงจาก 4.3% เดือนก่อน โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังหดตัวแรงที่ -10.3% ต่อเนื่องจาก -9.9% สะท้อนถึงภาคอสังหาฯ ที่ยังไม่ฟื้นตัวและยังคงเป็นจุดอ่อนสำคัญของเศรษฐกิจจีน ขณะที่การลงทุนในภาคการผลิต แม้จะขยายตัวได้ 8.8% แต่ก็เริ่มชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน

  • ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือน เม.ย. เริ่มสะท้อนผลกระทบเชิงลบจาก ภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และ อุปสงค์ในประเทศที่ยังเปราะบางโดยเฉพาะในภาคอสังหาฯ
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5