สรุปสาระสำคัญ
US reciprocal tariff และผลกระทบต่อไทย
- ณ 16.00 น. วันที่ 2 เม.ย. (เวลาสหรัฐ) ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศใช้ภาษีแบบต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าหลายฝ่ายรวมถึงเราคาดการณ์ โดยภาษีแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ (1) ภาษี Broadbase ทั่วโลก 10% และ (2) ภาษีรายประเทศ แล้วแต่ที่ประกาศ (ซึ่งประเทศที่ถูกเก็บภาษีรายประเทศ จะไม่ถูกเก็บภาษี Broadbase อีก โดยตามตารางที่ทรัมป์แสดง ไทยจะถูกเก็บในอัตรา 36% (น้อยกว่าอัตราที่ทรัมป์อ้างว่าไทยเก็บภาษีกับสหรัฐที่ 72% แต่ก็สูงกว่าอัตราขั้นสูงของเราที่ 16%)
- ตามการวิเคราะห์แบบ Sensitivity Analysis อัตราภาษีที่ 36% อาจทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง -3.6% และโดยการส่งออกจะหดตัวประมาณ -7% หากไม่มีการเจรจาต่อรองและการลดดอกเบี้ยจากธนาคารแห่งประเทศไทย เศรษฐกิจไทยอาจหดตัว -1.1% ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์พื้นฐานที่ 2.5%
สถานการณ์หลังจากนี้ จะเกิดอะไรขึ้น
- เราเชื่อว่าภายในสองถึงสามเดือนหลังจากนี้ ทุกประเทศที่โดนอัตราภาษี reciprocal tariff จะเร่งไปเจรจากับสหรัฐ ทำให้ภาษีลดทอนลง โดยอาจ (1) ลดทอนภาษีนำเข้าจากสหรัฐในประเทศของตนเอง (2) เจรจานำเข้าสินค้าสหรัฐมากขึ้น และ/หรือ (3) ตั้งกำแพงภาษีตอบโต้ โดยในกรณีไทย หากตอบโต้ ไทยจะต้องประกาศภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) จากสหรัฐที่อัตรา 36% จากที่เฉลี่ย 8% ในปัจจุบัน
- อย่างไรก็ตามการเก็บในอัตราที่สูงเช่นนี้บ่งชี้ว่าทรัมป์ ตั้งใจจะทำให้ การค้า โลก เปลี่ยนจากการค้าเสรี เป็นการค้าที่ ทุกประเทศมีการเก็บอากรขาเข้า ซึ่งจะลดทอนการค้าโลกในระดับหนึ่ง
สิ่งที่ต้องติดตาม
- หนึ่ง ทางการไทยจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านเศรษฐกิจรวมถึงมีมาตรการมาช่วย สนับสนุน เศรษฐกิจหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะ (1) กระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องเร่งเจรจา (2) กระทรวงการคลังที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออก และ (3) ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ควรจะต้องลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน
- สอง ผลของการเก็บภาษีนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐหดตัวในระดับ 1.5% ตามโมเดล ดังนั้น ในเบื้องต้นเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว เหลือ ประมาณ 0.4% จากที่เคยคาดว่าจะขยายตัว 1.9% เงินเฟ้ออาจขึ้นไปประมาณ 4% จากที่เคยคาดว่าที่จะ 2.7% และมีโอกาสสูงที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด จะไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้ในปีนี้ และมีโอกาสประมาณ 40% ที่ต้องขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่กรณีเลวร้ายที่ไทยไม่สามาจรถเจรจาต่อรองได้ เศรษฐกิจไทยจะหดตัว -1.1% ธปท. อาจลดดอกเบี้ยอีก 6 ครั้ง สู่ 0.5% ขณะที่เงินเฟ้อ (CPI) อาจปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 1.5% ด้านการส่งออก -5.0%
- ขณะที่กรณีฝันร้าย (Nightmare scenario) เศรษฐกิจโลกอาจตกไปสู่ภาวะเช่นเดียวกับ The great depression ในช่วงปี 1930 ได้