เราคาดการณ์กำไรปกติ 2Q68 ที่ 9.4 พันลบ. +60% YoY และ +10% QoQ โดยได้แรงหนุนจากราคาสุกรในไทยและเวียดนามที่ดีขึ้นท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ที่ต่ำ ความคืบหน้าในการเจรจาของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ โดยลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม โดยมี upside จากการอนุญาตให้นำเข้าอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำจากสหรัฐฯ (โอกาสสูง) และ downside จากการอนุญาตให้นำเข้าเนื้อหมูและสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ (โอกาสต่ำ) เราคงคำแนะนำ OUTPERFORM สำหรับ CPF โดยปรับราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 อ้างอิงวิธี SOTP ใหม่เป็น 29 บาท (จาก 32 บาท) หลังจากเราปรับราคาเป้าหมายของ CPALL และ CPAXT ลดลงเพื่อสะท้อนการบริโภคที่ชะลอตัว: 11 บาท สำหรับ CPF (PE 6-7 เท่าสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และธุรกิจอาหาร) และ 18 บาท สำหรับ CPALL และ CPAXT
คาดกำไรสุทธิ 2Q68 ที่ 9.7 พันลบ. +40% YoY และ +13% QoQ หากตัดกำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพจำนวน 300 ลบ. จากราคาสุกรที่สูงขึ้นออกไป กำไรปกติ 2Q68 จะอยู่ที่ 9.4 พันลบ. +60% YoY และ +10% QoQ โดยได้รับปัจจัยหนุนจาก: 1) มาร์จิ้นที่ดีขึ้นจากราคาสุกรที่สูงขึ้นในประเทศไทย (87 บาท/กก., +25% YoY, +10% QoQ), เวียดนาม (VND67,600/กก., +7% YoY, +3% QoQ), กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ท่ามกลางต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง; 2) ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนที่สูงขึ้น YoY จาก CPALL (+9% YoY) จากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น ซึ่งมากเกินพอชดเชยส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงจาก CTI (ราคาสุกรในจีนลดลงมาอยู่ที่ CNY14.5/กก., -11% YoY, -4% QoQ)
ราคาผลิตภัณฑ์และต้นทุนอาหารสัตว์ใน 3Q68TD ราคาสัตว์บกในประเทศ ใน 3Q68TD ราคาสุกรในประเทศอยู่ที่ 78 บาท/กก. (+9% YoY, -10% QoQ จากฝนตกหนัก) และราคาไก่เนื้อในประเทศอยู่ที่ 41 บาท/กก. (-5% YoY, ทรงตัว QoQ) ต้นทุนอาหารสัตว์ ใน 3Q68TD ราคา spot กากถั่วเหลืองนำเข้าและราคาข้าวโพดอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 2Q68 ที่ 11 บาท/กก. (ทรงตัว YoY) และ 16 บาท/กก. (-24% YoY) ราคาต่างประเทศ ใน 3Q68TD ราคาสุกรในเวียดนามอยู่ที่ VND66,000/กก. (+8% YoY, -2% QoQ จากฝนตกหนัก); ราคาสุกรในจีนอยู่ที่ CNY15.2/กก. (-22% YoY, +5% QoQ) ด้วยราคาผลิตภัณฑ์และต้นทุนในระดับดังกล่าว เราคาดว่ากำไร 3Q68 ของ CPF จะอ่อนตัวลง QoQ แต่เพิ่มขึ้น YoY
ผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เวียดนาม สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนามในอัตรา 20% และเวียดนามจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 0% ผลกระทบต่อ CPF มีจำกัด เนื่องจากบริษัทไม่มีการส่งออกจากเวียดนามไปยังสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้อาหารสัตว์ทุกชนิดสามารถนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้โดยไม่เสียภาษีอยู่แล้ว แม้ว่าภาษีนำเข้าจะลดลงจากเดิมเล็กน้อย แต่ลูกค้าในประเทศยังคงนิยมบริโภคเนื้อสด (80-90% ซื้อจากตลาดสด) มากกว่าเนื้อสัตว์แช่แข็ง ประเทศไทย สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยในอัตรา 36% ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจาก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. เนื่องจากยอดขาย 0.3% ของ CPF มาจากการส่งออกโดยตรงจากประเทศไทย (เกี๊ยวกุ้ง) เราจึงมองว่าผลกระทบต่อยอดขายของ CPF มีจำกัด ในด้านการนำเข้า รัฐบาลไทยกำลังพิจารณารับมือการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ด้วยการอนุญาตให้นำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ที่ไทยไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เช่น ข้าวโพด (ราคารวมต่ำกว่าราคาข้าวโพดไทย 10%) และกากถั่วเหลือง ซึ่งบ่งชี้ถึงต้นทุนการผลิตที่ลดลง เรามองว่ามีโอกาสน้อยที่ประเทศไทยจะอนุญาตให้นำเข้าสินค้าเกษตรทั้งหมดจากสหรัฐฯ เช่น เนื้อหมู และเนื้อสัตว์ปีก โดยลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% เพื่อปกป้องเกษตรกรไทย หากอนุญาตให้นำเข้าเนื้อสัตว์ทั้งหมดจากสหรัฐฯ โดยไม่มีเงื่อนไข (เช่น ห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดง และห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์จากประเทศที่มีโรคระบาดตามที่กฎหมายไทยกำหนด) ราคาสัตว์บกในประเทศจะลดลง ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมสัตว์บกไทยสูงกว่าต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งทั้งหมดของสหรัฐฯ ประมาณ 20% ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ของไทย (รวมถึง CPF) มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าอุตสาหกรรมไทยประมาณ 10-15% ผลกระทบเชิงลบอาจลดทอนลงได้บางส่วนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย เช่น จะซื้อเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคหรือไม่ และจะเปลี่ยนมาซื้อเนื้อแช่แข็งแทนเนื้อสด (70% ซื้อจากตลาดสด) หรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ: ราคาที่ลดลงจากกำลังซื้อเปราะบางและอุปทานที่มากขึ้น ต้นทุนอาหารสัตว์สูง และเงินบาทแข็งค่า ปัจจัยเสี่ยง ESG ที่สำคัญ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การบริหารจัดการน้ำและของเสีย (E), สวัสดิภาพของลูกค้า, การบริหารจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ และนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย (S)
We expect 2Q25F core profit at Bt9.4bn, +60% YoY and +10% QoQ, backed by better swine prices in Thailand and Vietnam amid low feed costs. We will watch for any progress in talks with the US about importation of agricultural products with zero tariffs: the upside would be more low-cost feed imports from the US (high chance) and downside from opening the doors to US swine and poultry imports (low chance). We maintain Outperform with a new end-2025 SOTP TP of Bt29 (from Bt32) after lowering our target prices from CPALL and CPAXT from the consumption slowdown: Bt11 for CPF (6-7x PE for feed, farm, food units) and Bt18 for CPALL and CPAXT.
Expect 2Q25F net profit of Bt9.7bn, +40% YoY and 13% QoQ. Excluding Bt300mn gain on change in biological assets from higher swine prices, 2Q25F core profit will be Bt9.4bn, +60% YoY and +10% QoQ. Backing the growth is: 1) better margin on higher swine prices in Thailand (Bt87/kg, +25% YoY, +10% QoQ), Vietnam (VND67,600/kg, +7% YoY, +3% QoQ), Cambodia and the Philippines, amid lower feed costs; 2) higher equity income YoY from CPALL (+9% YoY) from better sales and margin outpacing weaker contribution from CTI (lower China swine prices at CNY14.5/kg, -11% YoY, -4% QoQ).
3Q25TD product price and feed costs. Local livestock prices. In 3Q25TD, local swine price is Bt78/kg (+9% YoY, -10% QoQ from heavy rains) with local broiler price at Bt41/kg (-5% YoY, flat QoQ) breakeven at the gross profit level for big players of Bt60-65/kg and Bt37/kg. Feed costs. In 3Q25TD, spot imported soybean meal and corn prices are close to 2Q25’s at Bt11/kg (flat YoY) and Bt16/kg (-24% YoY). Overseas prices. In 3Q25TD, swine price in Vietnam is VND66,000/kg (+8% YoY, -2% QoQ from heavy rains); swine price in China is CNY15.2/kg (-22% YoY, +5% QoQ) vs breakeven at the gross profit level at VND43,000/kg and CNY14.5/kg). These prices and costs are expected to soften 3Q25F earnings QoQ, but with growth YoY.
Effect of US tariffs. Vietnam. The US agreed to impose a 20% tariff on Vietnamese exports, and Vietnam agreed to zero tariffs on US imports. The impact on CPF is small as it exported nothing to the US from Vietnam and it already paid no duties on all feeds imported. Though tariffs are brought down slightly from earlier, local customers prefer to buy fresh meat (80-90% purchased from wet markets) rather than frozen. Thailand. The US said it is imposing a 36% tariff on Thailand exports as of August 1, pending negotiations. As only 0.3% of CPF’s sales were direct exports to the US from Thailand (shrimp wonton), we see limited impact on CPF’s sales. On the import side, the Thai government is considering countering the tariffs by allowing the importation of agricultural products from the US which Thailand cannot produce or produces in insufficient quantities, i.e., corn (10% all-in price below Thailand’s corn price) and soybean meal, implying lower production costs. We see it as unlikely that Thailand will allow zero duties on imports from the US for all agricultural products, particularly swine and poultry, to protect Thai farmers. If all US meat imports are allowed without condition (by law, all meat with ractopamine is banned and all livestock imports are banned from countries with disease), local livestock prices will be lower. Thai industry livestock production cost is 20% above the US’s all-in production and logistic costs, while big Thai producers (including CPF) have 10-15% production costs below the Thai industry as a whole. The negative impact may be party alleviated by Thai consumer unwillingness to purchase meat with ractopamine, which is harmful to health, and to switch to frozen meat from fresh (70% now purchased from wet markets).
Key risks: Weak prices from fragile purchasing power and more supply, high feed costs, strong THB. Key ESG risks are GHG emission, waste & water management (E), customer welfare, product quality management, health & safety policies (S).
Download PDF Click > CPF250711_E.pdf