สำหรับผู้ลงทุนที่ถือครอง LTF ครบ 7 ปี (ซื้อปี 2562) ควรพิจารณาผลตอบแทนที่แท้จริงจาก 3 ส่วนคือ ส่วนต่างของราคา NAV เงินปันผลที่ได้รับระหว่างทาง และประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี โดยผู้ที่มีฐานภาษีสูงจะได้ประโยชน์สูงขึ้น
หลังขาย LTF หากต้องการลดหย่อนภาษีต่อ สามารถเลือกลงทุนในกองทุน ThaiESG ที่ถือครอง 5 ปี หรือ RMF ที่ถือครองจนอายุ 55 ปี ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการลดหย่อนภาษีสามารถเลือกลงทุนได้อิสระในกองทุน S&P500 กองทุนหุ้นโลก หรือหุ้นต่างประเทศรายตัว
อย่าเพิ่งช็อก LTF ขาดทุนหนัก จะขายหรือไม่ขาย?💡
เชื่อว่าหลายคนที่ลงทุนใน LTF ตอนนี้คงครบกำหนด 7 ปีปฏิทินกันหมดแล้ว... และหลายๆ คนที่ยังไม่ได้ขาย อาจเนื่องด้วยจากเหตุผลที่กองทุนติดลบอย่างหนัก วันนี้เลยจะพาทุกคนมาคำนวณกันว่า เราขาดทุนจาก LTF ตามตัวเลขที่เห็นในรายงานเลยจริงหรือไม่? รวมถึงวิธีจัดการการขาดทุน LTF ต้องทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะสำหรับคนที่ยังอยากได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อเนื่อง 📈
⏰ เช็กก่อน! ถึงเวลาขาย LTF หรือยัง?
สำหรับผู้ลงทุนที่ซื้อกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษีในปีสุดท้ายก่อนการยกเลิก LTF คือ ปี 2562 ในปี 2568 นี้คุณสามารถขายหน่วยลงทุนได้แล้ว เพราะครบกำหนดถือครอง 7 ปีปฏิทินพอดี โดยไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน
*สำหรับลูกค้า InnovestX สามารถตรวจสอบวันซื้อกองทุนได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน InnovestX โดยไปที่เมนู Portfolio > Transaction > กำหนด Filter ช่วงเวลาและประเภทกองทุน TAX
📊 "กองทุนติดลบหนัก" จริงหรือ? ลองคำนวณดูก่อน
หลายคนเห็นพอร์ต LTF ติดลบแล้วอาจรู้สึกกังวล 😰 แต่รู้หรือไม่ว่า... ความเป็นจริงอาจไม่ได้แย่อย่างที่คิด! เพราะในการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากส่วนต่างของราคา หรือ NAV แล้ว เราจะได้ผลตอบแทนอีก 2 ช่องทาง คือเงินปันผลระหว่างทาง และประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี
1. 💰 เงินปันผลที่ได้รับระหว่างทาง
ในหลายกองทุน LTF มักมีนโยบายจ่ายเงินปันผลเข้าบัญชีผู้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอในทุกปี จึงทำให้ในความเป็นจริงแล้ว การขาดทุนของราคาจะไม่ได้สูงแบบที่เห็น เพราะต้องรวมคำนวณเงินรับระหว่างทางอย่างปันผลเข้าไปด้วย
2. 💸 สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับไปแล้ว
นี่คือข้อดีที่สำคัญมาก! เพราะหากฐานภาษียิ่งมาก การลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีก็ยิ่งประหยัดภาษีไปได้มากแล้วแสดงการคำนวณให้เห็นตามตัวอย่าง
📝 ตัวอย่างการคำนวณ
สมมตินักลงทุนมีฐานภาษีที่ 20% ต้องการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี LTF ในกอง KTLF-L 100,000 บาท เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2562 (ได้จำนวนหน่วยประมาณ 3,958 หน่วย) มีการจ่ายปันผล 6 ครั้ง และหากขายเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2568 ผลตอบแทนจะเป็นอย่างไร
ผลตอบแทนกองทุน -18.39% = ขาดทุนประมาณ 18,390 บาท
ได้รับเงินปันผลจำนวน 6 ครั้ง หลังหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% รวมประมาณ 10,508 บาท
ผลตอบแทนกองทุนรวมปันผล = 10,508 - 18,390 = -7,882 บาท หรือคิดเป็น -7,882/100,000 = -7.88%
ผลประโยชน์จากการประหยัดภาษี 100,000 x 20% = 20,000 บาท
ดังนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับแท้จริง จากการประหยัดภาษีรวมกับปันผลที่ได้รับ = 20,000-7,882 =
12,118 บาท หรือคิดเป็น 12.12%
ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วกองทุนที่ LTF ที่เราลงทุนอยู่อาจจะไม่ได้ขาดทุนหนักอย่างที่คิด
💡 Tips: ผลลัพธ์จะแตกต่างกันตามฐานภาษีของแต่ละบุคคล ยิ่งฐานภาษีสูง ยิ่งได้ประโยชน์มาก! (ยังไม่นับรวมเงินปันผลอีก)
🎯 สำหรับผู้ขาย LTF ในปีนี้ และยังต้องการลดหย่อนภาษีต่อ สามารถลงทุนอย่างไรได้บ้าง?
การนำเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีต่อ นอกจากช่วยเรื่องการประหยัดภาษี โดยเฉพาะผู้ที่ฐานภาษีสูงแล้ว ยังได้รับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้ สำหรับการลงทุนในกองทุนภาษีไม่จำเป็นต้องรอลงทุนในช่วงใกล้สิ้นปีเพียงอย่างเดียว เพราะในหลายๆ ครั้ง มักมีต้นทุนการซื้อที่สูง เรา่สามารถลงทุนถัวเฉลี่ยรายเดือน (DCA) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการซื้อแพงได้ นอกจากนี้ การลงทุนในจังหวะที่ดี เช่น ช่วงที่ตลาดปรับตัวลงหนัก จะทำให้เราได้ราคาที่ถูก และมีโอกาสสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าในอนาคต
1. นำเงินไปลงทุนในกองทุนยั่งยืน ThaiESG ซึ่งมีให้เลือกทั้งนโยบายที่เป็นหุ้นไทย และตราสารหนี้
😊 เหมาะสำหรับ: นักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษีพร้อมลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน และอายุยังน้อย
ทั้งนี้ กองทุน ThaiESG มีเกณฑ์การถือครองเพียง 5 ปี นับจากวันที่ซื้อเท่านั้น และสามารถลดหย่อนภาษีได้สุงสุดถึง 30% หรือไม่เกิน 300,000 บาท/ปี โดยการลดหย่อนส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องรวมคำนวณกับกองทุน RMF ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่ม
กองทุน ThaiESG แนะนำจาก InnovestX
KKP GB THAI ESG (กองทุนตราสารหนี้ไทยยั่งยืน)
• กองทุนที่บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเกียรตินาคินภัทร มุ่งเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่มีความยั่งยืน โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ระยะยาว 85% และระยะสั้น 15% พร้อมตั้งเป้าอายุเฉลี่ยของตราสารในพอร์ตที่ 8-10 ปี กองทุนลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนสามประเภท ได้แก่ Green Bond, Sustainability Bond และ Sustainability-linked Bond โดดเด่นด้วยค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุดในกลุ่มกองทุนประเภทเดียวกัน และสร้างผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4% ต่อปี (ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2024)
K-TNZ-ThaiESG (กองทุนหุ้นไทยยั่งยืน)
• กองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ใช้กลยุทธ์ Passive Investment ลงทุนในหุ้นไทยที่เป็นส่วนประกอบของ SET100 Index และมีเป้าหมาย Net Zero ชัดเจน ร่วมมือกับ Lombard Odier ใช้โมเดล ITR ในการคัดเลือกหุ้น โดยเน้นบริษัทที่มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน กระจายการลงทุนในหุ้นหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น DELTA, PTT, AOT, ADVANC และ GULF สร้างผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7% ต่อปี เทียบกับดัชนีอ้างอิง SET100 ที่ 4.6% ต่อปี (ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2024)
2. นำเงินไปลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ซึ่งมีนโยบายให้เลือกหลากหลาย ไม่จำกัดแค่ในประเทศ หรือสินทรัพย์ประเภทหุ้นเท่านั้น เช่น กองทุนหุ้นสหรัฐฯ กองทุนทองคำ เป็นต้น
😊 เหมาะสำหรับ: นักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี ต้องการกระจายการลงทุน และอายุมากกว่า 55 ปี
โดยกองทุน RMF มีข้อกำหนดในเรื่องการซื้อต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกัน (งดเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน) และขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท/ปี เมื่อรวมคำนวณกับการลดหย่อนกลุ่มเกษียณอื่นๆ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 45 – 50 ปี
กองทุน RMF แนะนำจาก InnovestX
KUS500XRMF (กองทุนดัชนีหุ้น S&P500 ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด)
• กองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลัก iShares Core S&P 500 ETF บริหารโดย BlackRock แบบ Passive Investment กระจายการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ขนาดใหญ่ 500 บริษัทชั้นนำ ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม เช่น Apple, Nvidia, Microsoft, Amazon และ Meta เป็นต้น ผลตอบแทนจากกองทุนหลักย้อนหลัง 5 ปีเฉลี่ย 14.5% ต่อปี เท่ากับดัชนีอ้างอิง S&P 500 Index (ข้อมูล 31 ธ.ค. 2024) โดดเด่นด้วยค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุดในกลุ่มกองทุนประเภทเดียวกัน
KKP PGE RMF-H (กองทุนดัชนีหุ้นโลก Passive ค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด)
• กองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลัก iShares MSCI ACWI ETF บริหารโดย BlackRock แบบ Passive Investment กระจายการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่า 2,200 บริษัท ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม มีหุ้นชั้นนำเช่นเดียวกับ KUS500XRMF กองทุนหลักมีผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีเฉลี่ย 10.1% ต่อปี เทียบกับดัชนี MSCI ACWI ที่ 10.6% (ข้อมูล 31 ส.ค. 2024) มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุดในกลุ่มกองทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหลักเดียวกัน
KGSELECTRMF (กองทุนหุ้นโลก Active)
• กองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลัก JPMorgan Global Select Equity ETF บริหารแบบ Active โดยทีมผู้จัดการที่มีประสบการณ์กว่า 26 ปี ใช้กลยุทธ์ Pure Bottom-up ในการคัดเลือกหุ้น 65-95 ตัวทั่วโลก หุ้น top 5 ได้แก่ Microsoft, Amazon, Nvidia, Meta และ LVMH (ข้อมูล 8 ม.ค. 2025) ผลตอบแทนจากกลยุทธ์อ้างอิง ย้อนหลัง 5 ปีเฉลี่ย 12.1% ต่อปี สูงกว่าดัชนี MSCI World Index ที่ 11.7% (ข้อมูล 31 ธ.ค. 2024)
🎯 สำหรับผู้ขาย LTF ในปีนี้ และไม่ต้องการลดหย่อนภาษีต่อ
ในกรณีนี้ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้อย่างอิสระ เช่น
📈 กองทุน S&P500
🌎 กองทุนหุ้นโลก
💎 หุ้นต่างประเทศรายตัว
ดาวโหลดและเปิดบัญชี InnovestX เพื่อลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG และ RMF
คลิก https://innovestx.onelink.me/23if/u2qmpt6r
🎁 สรุป
LTF ทำหน้าที่ของมันได้ดีมาตลอด 7 ปี ทั้งช่วยประหยัดภาษีและสร้างวินัยการลงทุน ถึงเวลาแล้วที่จะก้าวไปสู่โอกาสการลงทุนใหม่ๆ เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งในระยะยาว!
*********************************
📱 ขั้นตอนการขายกองทุน LTF บนแอปพลิเคชัน InnovestX
1. กดเมนู Portfolio
2. กดชื่อกองทุนที่ต้องการ
3. กดปุ่ม "ขาย" แล้วระบุจำนวนหน่วยที่ต้องการขาย (สามารถเลือกระบุได้เฉพาะจำนวนหน่วยเท่านั้
4. เลือกบัญชีรับเงินที่ต้องการ (ไม่สามารถเลือก Main Wallet เป็นบัญชีรับเงินค่าขายได้ เนื่องจากลูกค้าทำรายการขายกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือทำรายการขายผ่านบัญชีกองทุนประเภทเปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน)
5. กดตรวจสอบข้อมูล และกด "ตกลง"
*หมายเหตุ: ลูกค้าสามารถทำรายการได้ในช่วงเวลาทำการ (ตามเวลา cut-off ของกองทุนนั้น ๆ) เท่านั้น
**เพิ่มเติม ในกรณีที่คุณลูกค้าต้องการติดต่อเพื่อขอเอกสารการยืนยันการขายกองทุนภาษี หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (หนังสือ ทวิ 50) ท่านสามารถติดต่อ บลจ ที่จัดสรรกองทุนทางภาษีของท่านโดยตรง โดยดูได้จากชื่อขึ้นต้นกองทุนภาษีที่ท่านถือครอง