สรุปสาระสำคัญ
ไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี ! ก็สามารถเริ่มต้นวางแผนและทยอยซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีกันได้ตั้งแต่วันนี้ เพราะการวางแผนภาษีเปรียบเสมือนการได้วางแผนการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายและเพิ่มเงินออม พร้อมกับช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้มากขึ้น แต่เนื่องด้วยกฎหมายภาษีที่อาจมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องอัปเดตแผนเป็นประจำทุกปี สำหรับปีนี้ เราจะมาสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา ประจำปี 2567 เพื่อให้สามารถวางแผนกันได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกัน
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2567
ก่อนที่จะไปถึงเรื่องของการหักลดหย่อนภาษี จำเป็นต้องมาสำรวจภาษีบุคคลธรรมดาในปี 2567 กันก่อน ดังนี้
เงินได้สุทธิต่อปี |
อัตราภาษี |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
ไม่เกิน 150,000 บาท |
ได้รับการยกเว้น |
- |
150,001 - 300,000 บาท |
5% |
7,500 |
300,001 - 500,000 บาท |
10% |
20,000 |
500,001 - 750,000 บาท |
15% |
37,500 |
750,001 - 1,000,000 บาท |
20% |
50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 บาท |
25% |
250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท |
30% |
900,000 |
5,000,001 บาท ขึ้นไป |
35% |
- |
หากดูแค่ตาราง หลายคนอาจยังสงสัยและไม่เข้าใจว่า จะมีวิธีคิดคำนวณอย่างไรให้ได้ตัวเลขภาษีที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งก่อนอื่นต้องคิดให้ได้เงินได้สุทธิเสียก่อน ด้วยสูตร
เงินได้รวม - ค่าใช้จ่ายที่หักได้ - ค่าลดหย่อนภาษี
จากนั้นจึงนำมาคิดเป็นอัตราภาษีขั้นบันไดประจำปี 2567 ได้จากสูตร
ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด
โดยมีตัวอย่างการคำนวณจากนางสาว ก. ดังนี้
นางสาว ก. ได้รับเงินเดือนจำนวน 50,000 บาทต่อเดือน ได้รับโบนัส จำนวน 100,000 บาท เมื่อนำมาคิดเป็นเงินรวมจะได้เป็น (50,000 X 12) + 100,000 = 700,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้จากการรับเงินเดือน จึงสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท อีกทั้งยังมีค่าลดหย่อนส่วนตัวที่หักได้ 60,000 บาท รวมถึงมีเงินประกันสังคมที่สามารถลดหย่อนภาษีตามยอดจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ทำนางสาว ก. มีเงินได้สุทธิเป็นจำนวน 700,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 = 531,000 บาท และเมื่อต้องนำมาคิดเป็นภาษีที่ต้องจ่าย ตามสูตรจะได้เป็น (531,000 - 500,000 ) x 15% + 20,000 = 24,650 บาท ซึ่งหากนางสาว ก. วางแผนลดหย่อนภาษีให้ดี ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไปได้อีก
รู้เพื่อวางแผน ! ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี 2567 ด้วยอะไรได้บ้าง ?
การรู้จักประเภทของการลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2567 มีการลดหย่อนภาษีหลายประเภทที่ควรรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการยื่นภาษีได้อย่างเต็มที่ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อปี
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อปี แต่หากคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคนต่อปี ตามเงื่อนไข ดังนี้
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- บุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักอีกไม่ได้
- หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักด้วยได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคนต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคนพิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคนต่อปี
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน
- รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ได้แก่
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำมาหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง สามารถนำมาหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
- รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- กองทุน RMF สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน SSF สามารถนำมาหักลดหย่อน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- เบี้ยประกันบำนาญ สามารถนำมาหักลดหย่อน 15% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุน หรือเบี้ยที่ไม่ร่วมกับกลุ่มอื่น ได้แก่
- กองทุน Thai ESG สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สามารถนำมาหักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถใช้สิทธิบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส นำมาลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 15,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
โดยทั่วไปสามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่บริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ ต้องเป็นการบริจาคให้กับองค์กรหรือสถาบันที่กรมสรรพากรรับรอง ดังนี้
- เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคทั่วไป สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
- เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐประจำปี 2567
- Easy e-Receipt สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท ตามที่จ่ายจริง โดยใช้ใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
- ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการจ่ายตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 พฤศจิกายน 2567 โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น
- การซื้ออสังหาริมทรัพย์ สำหรับดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าสร้างบ้านใหม่ โดยในค่าก่อสร้างที่จ่ายจริงทุก 1 ล้านบาท (รวม Vat) จะสามารถนำมาลดหย่อนได้ 10,000 บาท ซึ่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 จำกัดค่าก่อสร้างบ้านใหม่ไม่เกิน 1 หลัง ตามสัญญาจ้างที่ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568
จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่า ‘กองทุน’ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การลงทุนเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่า เพราะการลงทุนบนกองทุนลดหย่อนคุณภาพดี ได้ทั้งลดหย่อนเท่าฐานภาษี เสมือนได้ผลตอบแทนทันที และผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว แต่หากยังไม่รู้ว่าจะซื้อกองทุนไหนดี ผู้เชี่ยวชาญจาก InnovestX ได้คัดกองทุนลดหย่อนภาษีคุณภาพแนะนำจาก InnovestX โอกาสเติบโตในระยะยาว ทั้งสำหรับสร้างพอร์ตแบบ Core-Satellite Portfolio กองทุนลดหย่อนยอดนิยม หรือกองทุนลดหย่อน Best in Class ตามธีมที่นักลงทุนสนใจ InnovestX คัดมาให้ครบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้อย่างมั่นใจ พร้อมรับโปรโมชันพิเศษหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกสไตล์การลงทุนกับ InnovestX ได้แล้ววันนี้ แอปเดียวครบทุกจักรวาลการลงทุน ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเลยอาจเสี่ยงยิ่งกว่า เริ่มลงทุนวันนี้เลย
คำเตือน
* การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ข้อมูลอ้างอิง: