ใกล้สิ้นปีเข้ามาทุกที หลายคนคงกำลังมองหาวิธีลดหย่อนภาษี ด้วยการลงทุนในกองทุน SSF และ RMF แต่ด้วยกองทุนที่มีให้เลือกมากมาย ทำให้อาจสงสัยว่า ควรเลือกกองทุนลดหย่อนภาษีตัวไหนดี สำหรับใครที่อยากวางแผนการเงินให้มีเงินเหลือเก็บ พร้อมกับเป็นการลงทุนในระยะยาว วันนี้เราจะมาแจกโพยจัดพอร์ตลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2024 กัน พร้อมแนะนำกองทุน SSF และ RMF ที่น่าสนใจ เพื่อให้คุณวางแผนการลงทุนได้อย่างมั่นใจ
การลงทุนในกองทุน SSF และ RMF ช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถนำเงินลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ดังนี้
⦁ กองทุน SSF ใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับรายการลดหย่อนภาษีในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ
⦁ กองทุน RMF ใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ หรือไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับรายการลดหย่อนภาษีในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ
(รายการลดหย่อนภาษีในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่น ได้แก่ กองทุน SSF, กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนสงเคราะห์ครู)
กองทุน SSF และ RMF มีเงื่อนไขการถือครองที่กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ และเงื่อนไขในการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการออมและการลงทุนระยะยาวได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
⦁ กองทุน SSF จะต้องถือครอง 10 ปีขึ้นไปนับจากวันลงทุน ไม่บังคับลงทุนต่อเนื่อง
⦁ กองทุน RMF จะต้องถือครอง 5 ปีขึ้นไปนับจากวันลงทุน และถือครองจนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ รวมถึงบังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกินหนึ่งปี)
ด้วยนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในตราสารทุนและตราสารหนี้ ทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป
SSF | RMF | |
สิทธิลดหย่อนภาษี | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี | ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี เมื่อรวมรายการลดหย่อนภาษีในกลุ่มการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ (ถ้ามี) |
ระยะเวลาการถือครอง | 10 ปี | 5 ปี และถือครองจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ |
เงื่อนไขการลงทุน | ไม่มีขั้นต่ำ และไม่บังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปี | ไม่มีขั้นต่ำ แต่บังคับลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) |
สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ทางภาษี | ได้รับการยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหน่วยลงทุน (Capital Gain) หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน | ได้รับการยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหน่วยลงทุน (Capital Gain) หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไปและลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี |
หากต้องการวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อกองทุน SSF ในปี 2567 ควรเลือกกองทุน SSF ตัวไหนดี ที่มีแนวโน้มที่ดี และเหมาะกับการลงทุน
1. SCB S&P500 SSF
SCB S&P500 SSF เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในดัชนี S&P 500 ของสหรัฐฯ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เหมาะที่ต้องการกระจายการลงทุนในบริษัทชั้นนำของอเมริกา
2. KKP ACT FIXED-SSF
KKP ACT FIXED-SSF เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนที่มีคุณภาพสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนแบบรับความเสี่ยงต่ำ และรับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
3. B-INNO TECHSSF
B-INNO TECHSSF ลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงและยอมรับความผันผวนได้
4. K-CHANGE-SSF
K-CHANGE-SSF เน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโลก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะยาว
5. ONE-UGG-ASSF
ONE-UGG-ASSF ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีการเติบโตสูงและมีคุณภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปหุ้นคุณภาพสูงทั่วโลก
แต่ใครที่สนใจกองทุนรวม RMF เรารวบรวมมาให้แล้ว ว่าควรเลือกลงทุนในกองทุน RMF ตัวไหนดี สำหรับปี 2567
1. KKP INRMF
คนที่อยากลงทุนในกองทุน RMF ตราสารหนี้ แต่ไม่รู้จะเลือกกองไหนดี ขอแนะนำ KKP INRMF ซึ่งจะเป็นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ
2. SCBRM S&P500
SCBRM S&P500 ลงทุนในดัชนี S&P 500 เช่นเดียวกับ SSF แต่มีเงื่อนไขการลงทุนแบบ RMF เหมาะสำหรับการวางแผนเกษียณ และการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แบบระยะยาว
3. B-INNO TECHRMF
B-INNO TECHRMF เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวและการวางแผนเกษียณ
4. SCBRM1
SCBRM1 เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเหมาะกับคนที่ต้องการความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน
5. ES-GQGRMF
สำหรับใครที่สนใจการลงทุนแบบยั่งยืน ES-GQGRMF จะเป็นการลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีการเติบโตสูงและมีคุณภาพ โดยเน้นการลงทุนแบบยั่งยืน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาวควบคู่ไปกับการสนับสนุนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ควรพิจารณาลงทุนทั้ง SSF และ RMF เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะการลงทุนในแต่ละรูปแบบอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่แตกต่างกัน โดยอาจแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็น 50:50 หรือปรับตามความเหมาะสมของเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคน
ควรประเมินความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และเลือกกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของตนเอง โดยผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำอาจเลือกกองทุนตราสารหนี้ เช่น KKP ACT FIXED-SSF หรือ KKP INRMF ในขณะที่ผู้รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกกองทุนหุ้น เช่น SCB S&P500 SSF หรือ B-INNO TECHRMF
ควรพิจารณาเป้าหมายทางการเงินระยะสั้นและระยะยาว พร้อมจัดสรรเงินลงทุนใน SSF สำหรับเป้าหมายระยะกลาง (10-15 ปี) ควบคู่ไปกับการจัดสรรเงินลงทุนใน RMF สำหรับเป้าหมายระยะยาวและเพื่อการเกษียณ
การลงทุนในกองทุน SSF และ RMF นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นการวางแผนการเงินระยะยาวที่ดี แต่การเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตัวคุณนั้นสำคัญมาก ที่ InnovestX แอปพลิเคชันลงทุนที่ครบ จบ ในที่เดียว มีกองทุนรวมลดหย่อนภาษีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์นักลงทุนทุกคน เริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีและสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ดาวน์โหลด InnovestX ได้แล้ววันนี้ ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ข้อมูลอ้างอิง
⦁ กองทุนรวม SSF และ RMF ต่างกันยังไง เลือกอันไหนดี? | InnovestX. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 จาก https://www.innovestx.co.th/cafeinvest/investsnack/easyfinance/start-your-first-investment/ssf-vs-rmf
⦁ กองทุนลดหย่อนภาษี. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 จาก https://insight-fund.sec.or.th/mutual-fund-info/tax-saving-fund