สรุปสาระสำคัญ
ROA (Return on Assets) และ ROE (Return on Equity) คือตัวชี้วัดทางการเงินที่สำคัญสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจาก ROA แสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างกำไร ขณะที่ ROE คือสิ่งที่วัดประสิทธิภาพการใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนทั้งสองประเภทนี้จึงช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์และวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ROA การคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
ROA ย่อมาจากคำว่า Return on Assets คือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ เป็นตัวชี้วัดที่บอกว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดที่มีเพื่อสร้างกำไรได้ดีเพียงใด ยิ่ง ROA สูง ย่อมหมายถึงบริษัทมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างกำไร แต่ตัวเลขนี้อาจแตกต่างไปตามแต่ละอุตสาหกรรม แต่หากพูดถึงเรื่องของการลงทุน โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนจะให้ความสนใจกับบริษัทที่มี ROA สูงกว่า 5% เป็นหลัก
สูตรการคำนวณและตัวอย่างการคำนวณ
การคำนวณหา ROA สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ โดยการนำกำไรสุทธิ (Net Profit) มาหารด้วยสินทรัพย์รวม เขียนเป็นสูตรได้ ดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 1,000 ล้านบาท จะสามารถคำนวณได้ว่า แสดงว่าบริษัท A มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์สร้างผลตอบแทน 10%
ROE การคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ROE หรือ Return on Equity คือ สูตรการคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นตัวชี้วัดที่บอกว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรจากเงินทุนที่ผู้ถือหุ้นลงมามากน้อยเพียงใด ยิ่ง ROE สูงก็จะแสดงถึงการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้วิเคราะห์ว่าบริษัทใดใช้เงินทุนได้คุ้มค่าที่สุด โดยทั่วไปบริษัทที่มี ROE สูงกว่า 15% ขึ้นไป จะถือว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการเงินทุนได้ดีและน่าลงทุน
สูตรการคำนวณและตัวอย่างการคำนวณ
ROE ใช้สูตรคำนวณจากการนำกำไรสุทธิมาหารด้วยเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) สามารถเขียนเป็นสูตรคำนวณได้ว่า
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท B มีกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท มีเงินทุนส่วนของผู้ถือหุ้น 500 ล้านบาท จะสามารถคำนวณได้ว่า แสดงว่าบริษัท B สามารถใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นสร้างผลตอบแทนได้ 20%
สรุปความแตกต่างระหว่าง ROA และ ROE
จะเห็นได้ว่าทั้ง ROA และ ROE คือค่าชี้วัดที่มีผลต่อการลงทุน และมีสูตรการคำนวณที่ไม่ยุ่งยาก แต่เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ว่าคุณควรให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดใดมากเป็นพิเศษ เราจึงได้สรุปความแตกต่างของตัวชี้วัดทั้งสองประเภทออกมาเป็น 4 ข้อ ดังนี้
1. มุมมองในการวิเคราะห์
⦁ ROA: วัดผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมทั้งหมดของบริษัท ไม่ว่าจะมาจากเงินทุนของผู้ถือหุ้นหรือหนี้สิน
⦁ ROE: วัดผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุนของผู้ถือเป็นหลัก
2. การนำไปใช้ประโยชน์
⦁ ROA: ใช้ดูประสิทธิภาพของการจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีทั้งหมด เหมาะสำหรับเปรียบเทียบบริษัทในอุตสาหกรรมที่ใช้สินทรัพย์จำนวนมาก เช่น ธนาคาร โรงงาน หรืออสังหาริมทรัพย์
⦁ ROE: เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการลงทุนในหุ้น ช่วยให้นักลงทุนเห็นว่าผู้บริหารสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีจากเงินทุนของผู้ถือหุ้นหรือไม่
3. การเชื่อมโยงกับหนี้สินของบริษัท
⦁ ROA: ไม่ได้เชื่อมโยงกับโครงสร้างหนี้ของบริษัทโดยตรง เพราะคำนวณจากสินทรัพย์รวมทั้งหมด
⦁ ROE: เชื่อมโยงกับโครงสร้างหนี้อย่างชัดเจน โดยบริษัทสามารถเพิ่ม ROE ได้ ผ่านการกู้ยืมเพื่อลงทุนแทน หากการกู้ยืมหรือหนี้สินนั้นสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าดอกเบี้ย
4. การคำนวณแต่ละวิธีเหมาะกับใครบ้าง ?
⦁ ROA: เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการดูภาพรวมของบริษัท โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่ใช้สินทรัพย์จำนวนมาก
⦁ ROE: เหมาะสำหรับผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนที่สนใจ ผลตอบแทนที่ตนเองจะได้รับ จากเงินลงทุนในบริษัท
แนวทางการใช้ ROA และ ROE เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน
ROA และ ROE คือตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนมองเห็นศักยภาพและประสิทธิภาพของบริษัทในมุมต่าง ๆ การนำตัวเลขเหล่านี้ไปใช้อย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนที่มีประสิทธิภาพได้ ตามแนวทางเหล่านี้
1. ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนเฉลี่ยของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของบริษัทที่สนใจกับค่าเฉลี่ยของบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้เห็นว่าบริษัทนั้นมีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งหรือไม่ ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยของ ROA และ ROE ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจแตกต่างกัน โดยอุตสาหกรรมที่ใช้สินทรัพย์จำนวนมาก เช่น ธนาคารหรือโรงงาน มักมี ROA ต่ำกว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
2. เป็นข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มอัตราการเติบโตของบริษัทระยะยาว
การติดตามตัวเลข ROA และ ROE ในระยะยาว จะช่วยให้นักลงทุนเห็นแนวโน้มของการเติบโต และการบริหารจัดการของบริษัทนั้น ๆ หาก ROA และ ROE ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าบริษัทมีการบริหารทรัพยากรและเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสัญญาณของการเติบโตที่มั่นคง แต่หาก ROE เพิ่มขึ้นในขณะที่ ROA คงที่หรือลดลง อาจแสดงว่าบริษัทพึ่งพาหนี้สินมากขึ้น จึงควรต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
3. ใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนอย่างรอบด้าน
ROA และ ROE ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์เท่านั้น หากอยากให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมครบทุกมุม เช่น
⦁ P/E Ratio (Price-to-Earnings Ratio) ใช้วิเคราะห์ว่าหุ้นของบริษัทนั้นถูกหรือแพงเกินไปเมื่อเทียบกับกำไร หาก ROE สูงและ P/E ต่ำ ถือว่าเป็นหุ้นที่มีมูลค่าน่าสนใจ
⦁ D/E Ratio (Debt-to-Equity Ratio) ใช้วิเคราะห์โครงสร้างหนี้ หาก D/E สูงและ ROA ต่ำ อาจเป็นสัญญาณว่าบริษัทมีหนี้สินมากเกินไป จนไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้
⦁ Cash Flow Analysis ใช้ตรวจสอบความสามารถในการสร้างกระแสเงินสด หากบริษัทมี ROA และ ROE ที่ดี แต่กระแสเงินสดติดลบ แสดงว่าอาจมีปัญหาในด้านการบริหารเงินทุน
กล่าวได้ว่า ROA และ ROE คือตัวชี้วัดสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจความสามารถของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนจากสินทรัพย์และเงินทุน นำไปสู่การวางแผนการลงทุนได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และหากคุณอยาก
เริ่มต้นลงทุน เทรดหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ รวมถึงทรัพย์สินอื่น ๆ สามารถเริ่มต้นแบบทรงพลังได้ที่แอปพลิเคชัน InnovestX รวบรวมทรัพย์สินเอาไว้ครบทุกจักรวาลการลงทุน และมีฟีเจอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของนักลงทุนยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android
คำเตือน
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ข้อมูลอ้างอิง: