Program_Thumbnail-08
PDF Available  
Wealth Weekend

INVX Wealth Weekend – มองเวลท์..รายวีค 23 พ.ค. 2568

23 May 25 8:35 AM
สรุปสาระสำคัญ

ข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์ที่ผ่านมา

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2025 ขยายตัวสูงตามที่เราคาดจากการเร่งส่งออกและระบายสินค้าคงคลังก่อนสงครามการค้า
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งแรงจากงบประมาณใหม่ที่ขาดดุลการคลังมากขึ้นและการ downgrade ของ Moody’s
  • หนี้สาธารณะของประเทศส่วนใหญ่พุ่ง ทำให้ความเสี่ยงผลตอบแทนพันธบัตรสูงมีมากขึ้น

สรุปภาพรวมการลงทุนสัปดาห์นี้

สัปดาห์นี้ตลาดเริ่มชะลอตัวลง จากความกังวลสภาคองเกรสผ่านการพิจารณาร่างกฎหมายลดภาษีและการใช้จ่ายมูลค่า 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ของรัฐบาลทรัมป์ที่อาจเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ อีกทั้งการปรับลด อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จาก Aaa เป็น Aa1 โดย Moody's Ratings ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะระยะยาว เช่น 30 ปีพุ่งสูงถึง 5.1% ใกล้ระดับสูงสุดในรอบสองทศวรรษ ปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดภาวะ risk off ตลาดหุ้นปรับลง ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า นอกจากนั้นหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีปัจจัยลบเฉพาะตัว เช่นกลุ่ม Healthcare ลดลง 0.7% จากแรงกดดันกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง 2% จากแรงขายทำกำไรและ Yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเผชิญความผันผวนในตลาดพันธบัตรจากนโยบาย QE Tapering และความกังวลทางการคลัง โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น 30 ปีเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เริ่มออกขายในปี 1999 ตลาดหุ้น EM อ่อนตัวลง นำโดยตลาดหุ้น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และอินเดีย ด้านหุ้นไทยอ่อนตัวแรงกว่าภูมิภาค หลัง SET Index ไม่สามารถยืนเหนือ 1200 จุดได้ ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรทางเทคนิคลงมา หลังตลาดขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ทั้งในประเด็นผลประกอกบการ 1Q25 ที่ผ่านพ้นไปแล้ว และอยู่ระหว่างรอความชัดเจนของภาษีตอบโต้สหรัฐว่าจะมีความคืบหน้าอย่างไร เมื่อเทียบกับอัตราเดิมที่ 36% และเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซียนอื่นๆ ตลาดน้ำมันอ่อนตัวลงเล็กน้อยหลัง OPEC+ นำโดยซาอุดิอาระเบียและรัสเซียเพิ่มการผลิตน้ำมันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืน และตัวเลขสต๊อกน้ำมันรายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด

 

ตลาดหุ้นโลก 

สัปดาห์นี้ตลาดโลกเผชิญแรงกดดันหลายด้านจาก (1)  Moody's ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ลงเป็น Aa1 (2) สภาคองเกรสพิจารณาแผนลดภาษี 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ของทรัมป์ (3) ญี่ปุ่นเผชิญความผันผวนในตลาดพันธบัตรจากนโยบาย QE Tapering และความกังวลทางการคลัง (4)  OPEC+ เพิ่มการผลิตน้ำมันเพื่อดันราคาลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพื่อกดดันผู้ผลิต Shale oil สหรัฐ

 

ตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจัยในประเทศ (1) เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2568 ขยายตัว 3.1%YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด  (2) ครม. มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้กรอบวงเงิน 157,000 ล้านบาท (3) ธปท. เปิดเผยภาพรวมสินเชื่อ ไตรมาส 1/2025 ชะลอตัวต่อเนื่องในโดยชะลอตัวลงทั้งสินเชื่อภาพรวมและสินเชื่อส่วนบุคคล

 

ตลาดพันธบัตร

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นที่ 4.53% ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 3.98% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี อยู่ที่ 55 bps 
ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ที่ 1.88% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี เพิ่มขึ้นที่ 1.61% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 6,816 ล้านบาท

 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

ราคาน้ำมัน Brent ปรับลง 0.14%WoW สู่ 64.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลัง OPEC+ ส่งสัญญาณเร่งการเพิ่มการผลิตใน ก.ค. เป็นสามเท่าจากแผนเดิม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ราคาทองคำ (Spot) ปรับขึ้น 1.7%WoW สู่ 3,294.49 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์

 

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ทรงตัวที่ 99.8 จุด  ขณะที่ค่าเงินเยนแข็งค่าที่ 143.8 เยน ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.13 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทแข็งค่าที่ 32.85 บาท ขณะที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 7.20 หยวน

 

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5