สรุปประเด็นการจ้างงานสหรัฐเพิ่มขึ้นแรง เงินเฟ้อไทยขยายตัวต่ำกว่าคาด วิกฤตฝรั่งเศส: สัญญาณเตือนอนาคตยุโรปปี 2025
- การจ้างงานสหรัฐเพิ่มขึ้นหลังชะลอแรงในเดือนก่อนจากปัจจัยชั่วคราวการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 36,000 ตำแหน่ง ผลจากการกลับมาทำงานของพนักงานโบอิ้งหลังการประท้วงและการฟื้นตัวจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนด้านอัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.1% เป็น 4.2% ขณะที่อัตราค่าจ้าง (Average Hour earning) เพิ่มขึ้น 4% เท่ากับเดือนก่อน เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่เป็นความเสี่ยง ขณะที่ตลาดแรงงานเริ่มชะลอตัว (วัดจากอัตราว่างงาน) ทำให้ Fed น่าจะลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเรายงมองว่าจะสามารถลดดอกเบี้ยอีก 5 ครั้ง สู่ 3.4% ณ สิ้นปี 2025
- เงินเฟ้อไทยเดือน พ.ย. ขยายตัว 0.95% ต่ำกว่าคาด ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือน พ.ย. 2024 เท่ากับ 108.47 สูงขึ้น 0.95% ต่อปี (ลดลง 0.13% ต่อเดือน) และต่ำกว่าเราและตลาดคาดที่ 1.2%
- เรามองว่า เงินเฟ้อไทยในระยะต่อไปจะเพิ่มขึ้น แต่น้อยกว่าคาด จาก (1) Momentum เงินเฟ้อที่ลดลงกว่าคาด (2) ต้นทุนการผลิตที่ลดลง ทำให้การส่งผ่านสุ่ผู้บริโภคมีไม่มากนักและ (3) กำลังซื้อประชาชนที่เปราะบาง เห็นได้จาก Momentum เงินเฟ้อที่อ่อนแอ ทั้งนี้ เราปรับประมาณการเงินเฟ้อปี 2024 มาอยู่ที่ 0.4% ต่ำกว่าที่เราคาดที่ 0.6% ด้านเงินเฟ้อปี 2025 เราปรับประมาณการลง จาก 1.4% เป็น 0.9% จาก (1) เศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวต่ำ และ (2) การแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ และ (3) การแข่งขันด้านการค้าอีคอมเมิร์ซ ท้าให้มีการแข่งขันท่ามกลางความต้องการบริโภคในประเทศที่ยังเปราะบาง
- เรามองว่าธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และ 2 ครั้งในปีหน้า โดยเราเชื่อว่า ธปท. ควรลดดอกเบี้ย อย่างรวดเร็ว (Front loading) ซึ่งจะช่วงสนับสนุนให้เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2025 ไม่แย่มากนัก เนื่องจากนโยบายการเงินต้องใช้ระยะเวลาในการส่งผ่านอย่างน้อย 6-12 เดือน แต่หาก ธปท. ช้าในการลดดอกเบี้ยและผ่อนคลายมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อจะทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอกว่าคาดได้ โดยเรามองว่าหาก ธปท. ไปลดดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง อาจทำให้เศรษฐกิจทั้งปี 2025 ชะลอลงเหลือเพียง 2.5% หรือต่ำกว่าได้
- วิกฤตฝรั่งเศส: สัญญาณเตือนอนาคตยุโรปปี 2025 การล่มสลายของรัฐบาลมิเชล บาร์นิเยร์ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2024 ไม่เพียงสะท้อนความล้มเหลวของการเมืองสายกลางที่นำโดยประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจและการคลังของยุโรปทั้งภูมิภาค
- เรามองว่า ฝรั่งเศสกำลังเผชิญวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่บานปลาย โดยการล้มของรัฐบาลในเดือน ธ.ค. 2024 ไม่เพียงสะท้อนความล้มเหลวของการเมืองสายกลาง แต่ยังบ่งชี้ว่าฝรั่งเศสมีความเสี่ยงสูงกว่ากรีซ (ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีฝรั่งเศส = 2.88% กรีซ = 2.87%) สถานการณ์นี้อาจลุกลามเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหม่ของยุโรป หากฝรั่งเศสไม่สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและควบคุมการคลังได้ โดยเฉพาะในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่สำคัญระหว่างปี 2025-2027 ทั้งนี้ ไม่นับรวมถึงความเสี่ยงสงครามการค้าที่จะมีมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า