Macro Making Sense 3
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 19 ธ.ค. 2567

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|19 Dec 24 8:17 AM
สรุปสาระสำคัญ

การประชุม FOMC

  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 11 ต่อ 1 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 4.25%-4.5%

การประชุม กนง.

  • คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อปี ตามตลาดคาด แต่ต่างจากที่เราคาดว่าจะลง 0.25% (percentage point) ในการประชุมครั้งนี้ โดยมองว่า เศรษฐกิจในภาพรวมยังขยายตัวได้ใกล้เคียงที่ประเมินไว้ขณะที่มองว่าความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าปรับสูงขึ้น จึงจะยังคงดอกเบี้ยในระดับนี้ไว้รักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น (Policy space)

ผลการประชุม FOMC และ กนง.: Enter the new phase, maintain policy space

 

การประชุม FOMC

  • Dot Plot" แสดงให้เห็นว่า: ค่ามัธยฐานของเจ้าหน้าที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยลง 0.5% ในปี 2025 โดยจะมีการลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25%

  • FOMC ให้น้ำหนักอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น และอยู่ระดับเดียวกับการจ้างงาน โดยค่ามัธยฐานของเจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.5% ภายในสิ้นปี 2025 เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.1% ในเดือน ก.ย. นอกจากนั้น ประธาน Fed ยังระบุว่าสถานการณ์เศรษฐกิจได้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านใหม่ (We are in a new phase in the process) โดยเน้นความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายการเงินต่อจากนี้ โดยจะให้ความสำคัญกับการติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเป็นพิเศษ

  • แถลงการณ์ระบุว่าในการพิจารณา "ขอบเขตและจังหวะเวลา" ของการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะประเมินจาก:(1) ข้อมูลที่จะได้รับ (2) แนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง (3) ความสมดุลของความเสี่ยง (incoming data, evolving outlook and balance of risks)

  • ตลาดหุ้นส่งสัญญาณ Risk-off อย่างรุนแรง

  • เราปรับประมาณการดอกเบี้ยของ Fed จาก ลด 100 bps ในปี 2025 สู่ 3.4% เป็น ลดเพียง 50 bps สู่ 3.9% ในครึ่งแรกของปี ทำให้ในระยะต่อไป ผลกระทบต่อตลาดการเงินจะมีค่อนข้างมาก ทั้งจาก (1) ดอลลาร์ที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (2) ผลตอบแทนพันธบัตรจะลดลงไม่ได้มาก (3) ในระยะต่อไป กระแสความขัดแย้งระหว่าง Fed และรัฐบาลทรัมป์จะมีมากขึ้น

การประชุม กนง.

  • เรามองว่า การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบายที่อาจไม่สอดรับกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวมากเกินไป ทั้งจากสินเชื่อที่หดตัวในรอบ 14 ปี ดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง ค่าเงินบาทที่แข็งค่า เงินเฟ้อที่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย และการบริโภคสินค้าคงทนของภาคเอกชน และการลงทุนเอกชนที่หดตัว ทำให้การคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษา Policy Space อาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากเศรษฐกิจต้องการการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง

  • เรามองว่า ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากความไม่แน่นอนของนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะจากนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ประกอบกับแรงส่งทางการคลังที่จะเริ่มแผ่วลงในระยะต่อไปเนื่องจากภาระทางการคลังที่สูงขึ้น ทำให้รัฐบาลมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • เรามองว่า ในที่สุด ธปท. อาจจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ย แต่อาจสายเกินไปและส่งผลให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากขึ้น เพราะการลดดอกเบี้ยต้องใช้เวลาส่งผ่าน (Transmission Mechanism) ทำให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2568 เหลือ 2.7% จาก 3.0% การบริโภคภาคเอกชนเหลือ 2.2% จาก 3.5% และการลงทุนภาคเอกชนเหลือ 0.5% จาก 3.2% สะท้อน Downside risk ของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5