PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 7 พ.ค. 2568

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|7 May 25 7:54 AM
สรุปสาระสำคัญ
  • สรุปประเด็นเงินเฟ้อไทยเดือน เม.ย. หดตัว -0.22% แรงกว่าคาด INVX ปรับประมาณการเงินเฟ้อลงสู่ 0.57%

  • เงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย. 2025 อยู่ที่ -0.22% YoY และ -0.21% MoM ลดลงจากเดือน มี.ค. ที่ +0.84% YoY ต่ำกว่าตลาดคาด (-0.10%) และต่ำกว่าที่เราคาด (-0.12%) ปัจจัยหลักมาจากราคาพลังงาน (แก๊สโซฮอล์ เบนซิน ค่าไฟฟ้า) ที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและมาตรการรัฐ รวมถึงราคาผักสดและไข่ไก่ที่ลดลงจากสภาพอากาศเย็นกว่าปีก่อน ขณะที่แรงผลักดันเงินเฟ้อยังมีในบางหมวด เช่น หมู อาหารสำเร็จรูป และเครื่องปรุงอาหารบางรายการ

  • กระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อเดือน พ.ค. จะใกล้เคียงกับ เม.ย. และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยได้รับแรงฉุดจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง, ค่าไฟฟ้าถูกลง (3.98 บ./หน่วย), ผักสดราคาลดลงจากผลผลิตเพิ่มขึ้น และการจัดโปรโมชันค้าปลีกต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันดีเซล (31.94 บ./ลิตร) และวัตถุดิบอาหารบางชนิด เช่น มะพร้าว กาแฟ และเนื้อสุกร

  • เรามองว่าเงินเฟ้อไทยในระยะถัดไปจะทรงตัวอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. จาก (1) Momentum ราคาพลังงานในตลาดโลกที่คาดว่าจะทรงตัวหรือลดลง (2) ราคาสินค้าที่อ่อนตัวลงตามอุปสงค์ภายในประเทศและผลกระทบจากสงครามการค้า (3) ต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากราคาวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ชะลอตัว โดยเฉพาะจากจีนที่ส่งออกในราคาต่ำลง ทำให้เราปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2025 มาอยู่ที่ 0.57% YoY จากประมาณ 0.9% ในช่วงก่อนหน้า
  • เราคาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ สู่ 1.25% หลังจากปรับลดลงสู่ 1.75% ในเดือน เม.ย. ตามที่เราคาดการณ์ไว้ โดยมีแนวโน้มลดเพิ่มเติมในเดือน มิ.ย. และ ต.ค. จากความเสี่ยงเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะผลกระทบจากสงครามการค้าโลกที่จะกระทบเต็มที่ในครึ่งหลังของปีการเลื่อนการเดินทางของคณะผู้แทนไทยไปเจรจาการค้าที่สหรัฐฯ อย่างไม่มีกำหนด เป็นสัญญาณเชิงลบ และอาจนำไปสู่สถานการณ์ทางเลือกที่เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 1.3% หรือน้อยกว่านั้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย, การปล่อยสินเชื่อที่หดตัว, คุณภาพสินเชื่อที่แย่ลง และภาวะการเงินที่ยังตึงตัว ล้วนเป็นแรงหนุนให้ กนง. เดินหน้าผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมในการประชุม มิ.ย. และ ต.ค. หากสถานการณ์การค้ารุนแรงขึ้นอีก ก็อาจเห็นการลดดอกเบี้ยเพิ่มในเดือน ส.ค. ด้วย ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายไปอยู่ที่ 1.0% ณ สิ้นปี

  • แม้ดอกเบี้ยนโยบายลดลงแล้ว สินเชื่อยังหดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจาก(1) สัญญาณจาก ธปท. ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเดินหน้าเข้าสู่ช่วงผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างจริงจัง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงดอกเบี้ยสูง(2) การกำกับแบบ “Responsible Lending” ที่ยังเข้มงวด ทำให้ธนาคารไม่กล้าปล่อยสินเชื่อไปยังกลุ่มที่มีความเสี่ยง ดังนั้น หากต้องการให้สินเชื่อฟื้นตัว ธปท. อาจต้องพิจารณาผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อ และเปิดทางให้ธนาคารสามารถรับความเสี่ยงด้าน NPL ได้มากขึ้นในบางกลุ่มเป้าหมาย

  • ภาพทั้งหมด ทำให้เราคาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปีนี้ และมีโอ กาสที่จะลดเพิ่มอีก 1 ครั้งหาก หากสถานการณ์การค้ารุนแรงขึ้น
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5