ยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าเดือน มิ.ย. และ 2Q25 แบรนด์จีนเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯชะลอตัว
ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีนอย่าง BYD, Xpeng และ NIO รายงานยอดส่งมอบเดือนมิถุนายนที่แข็งแกร่ง แม้จะมีแรงกดดันจากการลดราคาที่กระทบ Margin และโดนหน่วยงานรัฐควบคุมการแข่งขันด้านราคา โดย XPeng มียอดส่งมอบเพิ่มกว่า 3 เท่าจากปีก่อน ขณะที่ BYD มียอดขายเพิ่มขึ้น 10% YoY ขณะเดียวกัน NIO และ XPeng ส่งมอบได้ใกล้เคียงเป้าหมาย ส่วน Li Auto แม้ยอดขายลดลง YoY แต่ดีกว่าคาดการณ์
ในส่วนของฝั่งสหรัฐฯ Lucid รายงานยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า 2Q25 เพิ่มขึ้น 38%YoY แต่ต่ำกว่าคาดการณ์ ด้าน Rivian ผลิตรถเพียง 5,979 คัน ต่ำกว่าคาดการณ์มากกว่าครึ่ง ซึ่งทั้งสองบริษัทเผชิญแรงกดดันด้านความต้องการที่อ่อนแอในตลาด EV หรูหรา
ด้าน Tesla เผยยอดขาย 2Q25 อยู่ที่ 384,122 คัน ลดลง 13.5%YoY และต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ราว 394,000 คัน จากการแข่งขันที่รุนแรงใรวมถึงกระแสต่อต้านทางการเมือง การชะลอตัวของความต้องการซื้อยังสะท้อนปัญหาจากไลน์อัพรถที่เริ่มเก่า และแรงกดดันจากแบรนด์คู่แข่งที่เปิดตัวรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
ตลาดรถยนต์แบบดั้งเดิมยังมีความเสี่ยง
Toyota ทำยอดขายทั่วโลกเดือน พ.ค. สูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยเพิ่มขึ้น 6.9% YoY แต่อย่างไรก็ดี ค่ารถยนต์ญี่ปุ่น เช่น Toyota, Honda และ Nissan เผชิญแรงกดดันจากภาษีรถยนต์นำเข้า 25% ของสหรัฐฯและยังมีความเสี่ยงจากภาษีตอบโต้ 24% ที่จะมีผลในวันที่ 9 ก.ค. หากยังไม่สามารถตกลงกับสหรัฐฯ ได้ทันเวลา
นอกจากนี้ Xiaomi ได้เปิดตัวรถ SUV ไฟฟ้าพรีเมียมรุ่นใหม่ YU7
โดยแบ่งเป็นรรุ่น YU7 Standard/Pro/Max ที่ราคา Rmb253,500 / 279,900 / 329,900 ตามลำดับ โดยมียอดจองแตะ 289,000 คันภายใน 1 ชั่วโมง เกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก (คาดเดิม 15,000 คันใน 24 ชม.)
มุมมองของ InnovestX
ภาพรวมกลุ่ม Automotive ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ช่วงการปรับโครงสร้าง จาก 1) การถูกควบคุมการแข่งขันด้านราคาของหน่วยงานกำกับดูแลในตลาดจีน 2) การขยายตลาดในต่างประเทศซึ่งเผชิญอุปสรรคด้านภาษี 3) การพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่น เช่น ระบบขับขี่อัตโนมัติ และ Robotaxi มองผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีความสามารถในการควบคุมต้นทุน การกระจายตลาด และมีการเติบโตของยอดขาย จะมีโอกาสเติบโตมากกว่าผู้ผลิตรายเล็ก การลงทุนควรเน้นไปที่บริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและมีศักยภาพในการแข่งขันระยะยาว ดังนี้
1)BYD มองว่าการขยายการขายไปยังในต่างประเทศจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนการเติบโตในปีนี้ และผลกระทบจาก Tariff มีจำกัด ในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดเมื่อเดือน พ.ค. ราว 22% ได้รับรู้ประเด็นการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากลดราคาไปแล้ว จึงมองเป็นจังหวะในการเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร
2)Geely เติบโตอย่างรวดในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหนุนจากการขยายตลาดต่างประเทศ และการลงทุนทางเทคโนโลยี AI‑driven ในรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งโดย 1Q25 มีรายได้และกำไรเติบโต +25% และ +264% YoY ตามลำดับ
3)Tesla ถึงแม้ว่ายอดขาย จะชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา แต่ในระยะถัดไปเราเชื่อว่า 1) 1Q25 เป็นจุด Bottom 2) แม้ธุรกิจ EV จะยังฟื้นช้าแต่เชื่อว่างบ 2Q25 จะดีกว่า 1Q25 3) ยอดขาย EV ที่แย่เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้และอาจมองข้ามในการประกาศงบ พร้อมคาดหวังธุรกิจใหม่ๆมากกว่า มองราคาหุ้นที่ปรับตัวลงเป็นจุดเข้าซื้อเล่นรอบเก็งกำไร
4)Xiaomi มียอดจองรุ่นใหม่ที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์นั้น คาดว่าจะช่วยหนุนให้มีการปรับประมาณการณ์ยอดส่งมอบรถยนต์ EV เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทางบริษัทที่คาดกว่าธุรกิจ EV จะเริ่มมีกำไรในช่วง 2H25 นอกจากนี้ Xiaomi ยังได้ประโยชน์จากรโยบาย Trade-in เครื่องใช้ฟ้าของภาครัฐที่เร่งจัดสรรเงินมาสนับสนุนต่อเนื่อง
5)นอกจากนี้เรายังมีมุมมองบวกต่อผู้ผลิตแปตเตอรี่ อย่าง CATL (DR: CATL23) ที่ได้อานิสงค์ใช้หลัง Xiaomi ใช้แบตเตอรี่ของ CATL ครบทุกรุ่น รุ่น YU7 Max ใช้ Qilin battery (NCM ระดับพรีเมียม) รุ่น Standard และ Pro ใช้ Shenxing battery (LFP ระดับพรีเมียม) ซึ่งสะท้อนการขยายพอร์ตผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ระดับสูง คาดว่าการปรับพอร์ตสู่แบตเตอรี่พรีเมียมจะช่วยให้ CATL มีกำไรต่อหน่วย (GP/kWh) เพิ่มขึ้นในช่วง 2H25 และคาดว่าจะช่วยหนุนกำไรสุทธิระยะยาวในช่วง 2025-2027