หากพูดถึงการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี หลายคนอาจคิดว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่า และไม่คุ้มค่า แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าลงทุนบนกองทุนลดหย่อนคุณภาพดีที่ได้ลดหย่อนเท่าฐานภาษี จะเปรียบเสมือนการได้ผลตอบแทนทันที รวมถึงได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการออมเงินในระยะยาวที่คุ้มที่สุดวิธีหนึ่ง
ซึ่งสำหรับใครที่กำลังมีคำถามอยู่ในใจว่า แล้วเราควรจะซื้อกองทุน SSF, RMF หรือ TESG เท่าไหร่ดีถึงจะนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ? บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจกับทุกข้อที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุน เพื่อช่วยให้คุณสามารถนำไปวางแผนการเงิน และเตรียมตัวเลือกซื้อกองทุนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีปลายปีได้อย่างคุ้มค่า ทั้งยังช่วยให้มีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีด้วย
วางแผนลดหย่อนภาษี ควรรู้อะไรบ้าง ?
การวางแผนลดหย่อนภาษีจะช่วยประหยัดเงินและทำให้จ่ายภาษีได้น้อยลง โดยสามารถเริ่มต้นวางแผนได้เลย ไม่ต้องรอถึงช่วงปลายปีที่ใกล้เสียภาษี เพื่อประโยชน์ต่อการใช้เงินในระยะยาว
ทำความเข้าใจประเภทเงินได้
เนื่องจากการเสียภาษี มีจุดเริ่มต้นมาจากการมีรายได้ ซึ่งรายได้แต่ละประเภทจะถูกนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน ซึ่งอัตราการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 มีดังนี้
รวบรวมรายได้ที่ต้องเสียภาษี
หลังจากได้ศึกษาประเภทรายได้แล้ว ก็ได้เวลารวบรวมรายได้ เริ่มจากการจดบันทึกรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ แล้วแยกตามประเภท เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ดอกเบี้ย ปันผล เงินทุน โดยควรเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งยอดบัญชี ไว้เป็นหลักฐานให้ครบถ้วน
ศึกษาสิทธิการลดหย่อนภาษีและเลือกวิธีที่เหมาะสม
เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วพบว่า มีอัตราภาษีที่อาจต้องเสียจำนวนมาก ให้ทำการศึกษาสิทธิการลดหย่อนภาษีในแต่ละประเภทอย่างละเอียด แล้วเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง ควบคู่ไปกับการวางแผนการออมและการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยในปัจจุบัน กฎหมายภาษีบุคคลธรรมดามีสิทธิการลดหย่อนภาษีมากมาย ตั้งแต่การออมและการลงทุน ในกองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงจากเบี้ยประกันทั้งแบบสะสมทรัพย์และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไปจนถึงค่าธรรมเนียมการศึกษาและการบริจาค
ตอบคำถาม กองทุนลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ?
ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่า การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นประกัน หรือกองทุน SSF RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่จะในอัตราเท่าไหร่บ้าง สามารถสรุปออกมาได้ตามหมวด ดังนี้
หมวดกองทุน การออม และการลงทุน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับส่วนเกิน 10,000 บาท ที่ไม่เกิน 490,000 บาท จะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำไปคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งหมด หรือไม่เกิน 500,000 บาท
สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนเพื่อการออม (SSF) และเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
หมวดประกัน
วิธีคำนวณเบื้องต้น
ก่อนจะคิดคำนวณต้องมารู้จักกับเงินได้สุทธิกันก่อน ซึ่งสามารถคิดได้จาก ‘เงินได้สุทธิ = เงินได้รวม - ค่าใช้จ่ายที่หักได้ - ค่าลดหย่อนภาษี’ โดยมีจำนวนที่จะถูกนำมาคำนวณภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิต่อปี | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
ไม่เกิน 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้น | - |
150,001 - 300,000 บาท | 5% | 7,500 |
300,001 - 500,000 บาท | 10% | 20,000 |
500,001 - 750,000 บาท | 15% | 37,500 |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | 900,000 |
5,000,001 บาท ขึ้นไป | 35% | - |
ซึ่งสามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณเป็นจำนวนภาษีแบบขั้นบันไดที่ต้องจ่ายตามสูตร ‘ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด’ โดยยกตัวอย่างจากข้อมูลของนาย A และนาย B ดังนี้
ตัวอย่างจากนาย A ที่ไม่ได้มีการวางแผนลดหย่อนภาษี
นาย A ไม่ได้มีการวางแผนลดหย่อนภาษีล่วงหน้า จึงมีแค่ค่าลดหย่อนส่วนตัวที่หักได้ 60,000 บาท ต่อคน ตามที่กฎหมายอนุญาตโดยไม่มีเงื่อนไข รวมถึงมีเงินประกันสังคมที่สามารถลดหย่อนภาษีตามยอดจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
ตัวอย่างจากนาย B ที่วางแผนลดหย่อนภาษี
นาย B ได้มีการวางแผนลดหย่อนภาษีตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการลงทุนในกองทุน RMF ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน ซึ่งนาย B ได้ประเมินแล้วว่าจะมีเงินได้รวมทั้งปีอยู่ที่ 600,000 บาท จึงตัดสินใจลงทุนซื้อ RMF ในจำนวน 180,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวน 30% ของ 600,000 บาท เพื่อให้สามารถนำสิทธิมาใช้ในการลดหย่อนได้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อนำค่าลดหย่อนจาก RMF มาคำนวณเพิ่มจะได้เป็นจำนวน ดังนี้
จะเห็นได้ว่าจากตัวอย่าง การเลือกลงทุนที่เหมาะสมจะส่งผลต่อผลตอบแทนในระยะยาว แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย หรือลงทุนในกองทุน ล้วนขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ด้วย แต่ถ้าใครเลือกที่จะวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนในกองทุน ควรมีการวางแผนเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยสร้างกำไรให้งอกเงยและมีเงินเก็บอย่างที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น
หากคุณเลือกที่จะนำเงิน 100,000 บาท ไปลงทุนในกองทุน SSF ที่ติดตามดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยมีฐานภาษีอยู่ที่ 20% ก็จะทำให้ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 20,000 บาททันที และยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวได้มากกว่าการรับดอกเบี้ยจากการนำเงินฝากในบัญชี
InnovestX ชวนลงทุนกับกองทุนลดหย่อนภาษี ยิ่งวางแผนดี ยิ่งได้ลดหย่อน !
ไม่ต้องรอให้ถึงปลายปี ! ก็สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่วันนี้ กับ InnovestX ด้วยการเลือกลงทุนกับกองทุนลดหย่อนภาษี SSF, RMF และ Thai ESG ที่ช่วยต่อยอดเงินคืนภาษีให้เป็นเงินเก็บ พร้อมเพิ่มโอกาสในการทำกำไร เพื่อให้สามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งลงทุนมาก ยิ่งลดหย่อนได้มาก และถ้าลงทุนบนกองทุนลดหย่อนคุณภาพดีที่ลดหย่อนเท่าฐานภาษี ก็จะเสมือนได้ผลตอบแทนทันที พร้อมผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว แต่หากยังไม่รู้ว่าจะซื้อกองทุนไหนดี ผู้เชี่ยวชาญจาก InnovestX ได้คัดกองทุนลดหย่อนภาษีคุณภาพ ที่จะช่วยสร้างโอกาสเติบโตในระยะยาว ทั้งสำหรับสร้างพอร์ตแบบ Core-Satellite Portfolio กองทุนลดหย่อนยอดนิยม หรือกองทุนลดหย่อน Best in Class ตามธีมที่นักลงทุนสนใจ เราก็คัดมาไว้ให้ครบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้อย่างมั่นใจ พร้อมรับโปรโมชันพิเศษหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกสไตล์การลงทุนกับ InnovestX ได้แล้ววันนี้ แอปเดียวครบทุกจักรวาลการลงทุน ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเลยอาจเสี่ยงยิ่งกว่า เริ่มลงทุนวันนี้เลย
** ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากหน่อยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจ
ข้อมูลอ้างอิง:
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน