สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อายุ 30-40 ปี คำว่า “เกษียณ” อาจยังฟังดูเหมือนเรื่องไกลตัว ได้ยินเมื่อไรก็คิดว่าเดี๋ยวค่อยวางแผนก็ได้ แต่ความจริงแล้วการวางแผนเกษียณอายุยิ่งเริ่มเร็วเท่าไร โอกาสมีชีวิตหลังเกษียณที่มั่นคงและอิสระทางการเงินก็ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะเราไม่ได้แค่ต้องการ "เงินพอใช้" แต่ต้องการ "เงินที่ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน" คำถามคือ แล้วมนุษย์เงินเดือนแบบเราควรเริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุนเพื่อเป้าหมายเกษียณอย่างไรดี ? บทความนี้มีคำตอบแบบเข้าใจง่ายและทำตามได้จริง พร้อมแนะนำกลยุทธ์ที่เหมาะกับยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วอย่างทุกวันนี้
ก่อนจะพูดถึงการจัดพอร์ตหรือกลยุทธ์ใด ๆ คำถามแรกที่ต้องตอบให้ได้คือ “เราต้องการเงินเท่าไรหลังเกษียณ ?” และเมื่อรู้คำตอบของคำถามนี้แล้ว จะเป็นเหมือนเข็มทิศของแผนการเงินทั้งหมด
วิธีคำนวณที่ง่ายและใช้กันทั่วไปคือ
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน × 12 เดือน × จำนวนปีหลังเกษียณ
ตัวอย่างเช่น หากต้องการใช้เงินเดือนละ 40,000 บาท และคาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 25 ปี
= 40,000 × 12 × 25 = 12 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ยังไม่รวมผลของเงินเฟ้อ สมมติว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี ค่าใช้จ่ายจริงหลังเกษียณในอีก 30 ปีข้างหน้าจะสูงกว่านี้มาก ดังนั้น การวางแผนเกษียณด้วยพอร์ตลงทุนที่เติบโตเร็วกว่าเงินเฟ้อจึงเป็นหัวใจสำคัญ
มนุษย์เงินเดือนหลายคนยังคงยึดมั่นกับ “ความมั่นคง” จึงเลือกที่จะเก็บเงินเกษียณไว้ในที่ที่พวกเขาคิดว่า “ปลอดภัยและมั่นคงที่สุด” อย่างเงินฝากออมทรัพย์หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ แต่ในยุคที่อัตราดอกเบี้ยต่ำติดดินแบบปัจจุบัน การออมอย่างเดียวแทบไม่พอให้เงินเติบโตทันความต้องการ สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ "เงินเฟ้อไปเร็วแบบจรวด แต่เงินในบัญชีออมทรัพย์ของคุณไปช้าเหมือนเต่า"
ดังนั้น วิธีรับมือคือการให้เงินทำงานผ่านการลงทุน โดยใช้พลังของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) ซึ่งจะยิ่งมีประสิทธิภาพเมื่อคุณเริ่มลงทุนเร็วและปล่อยเงินไว้นาน
การจัดพอร์ตลงทุนสำหรับวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือนไม่ควรใช้สูตรตายตัว เพราะความสามารถในการรับความเสี่ยง (Risk Tolerance) และเป้าหมายทางการเงินจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุของผู้ลงทุน การออกแบบพอร์ตจึงควรปรับให้สอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุนที่เหลืออยู่ และความมั่นคงทางรายได้ในแต่ละช่วงวัย ดังนี้
นี่คือช่วงเวลาทองของชีวิตนักลงทุน เพราะคุณมีเวลานานพอที่จะให้เงินเติบโตผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจหลายรอบ และสามารถรับความผันผวนในระยะสั้นได้โดยไม่ส่งผลต่อเป้าหมายวางแผนเกษียณมากนัก การเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพสร้างผลตอบแทนสูง เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ทองคำ หรือกองทุนต่าง ๆ จึงเหมาะสมกับช่วงอายุนี้ที่สุด
ตัวอย่างสัดส่วนของพอร์ตที่แนะนำ
เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มักมีภาระเพิ่มขึ้น ทั้งเรื่องครอบครัว ค่าเล่าเรียนลูก หรือผ่อนบ้าน จึงควรลดความเสี่ยงในพอร์ตลงบ้าง โดยเปลี่ยนจากที่เน้นการเติบโตเต็มที่ มาเป็นการสร้างความเสถียรควบคู่กับโอกาสการเติบโต พอร์ตในช่วงนี้จึงควรมีทั้งสินทรัพย์ผันผวนต่ำ เช่น REITs, กองทุนผสม และสินทรัพย์ที่ยังเติบโตได้ดีอย่างหุ้นหรือ ETF ต่างประเทศ
ตัวอย่างสัดส่วนของพอร์ตที่แนะนำ
พอร์ตในช่วงก่อนเกษียณควรเน้นการรักษามูลค่าเงินต้นเป็นหลัก โดยมองหาแหล่งรายได้ที่มั่นคง เช่น เงินปันผลหรือดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ เพื่อเตรียมเข้าสู่ช่วงที่ต้องถอนเงินออกมาใช้จริง การลดสัดส่วนหุ้นและเพิ่มสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำจะช่วยลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในช่วงใกล้เกษียณได้
ตัวอย่างสัดส่วนของพอร์ตที่แนะนำ
คำสอนเก่าแก่ที่ว่า “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว” ยังคงใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะการจัดพอร์ตเพื่อวางแผนเกษียณที่ยิ่งต้องอาศัยหลักการกระจายความเสี่ยงอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น
การกระจายความเสี่ยงจะช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดวิกฤต และยังช่วยให้พอร์ตสำหรับการวางแผนเกษียณอายุมีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้พอร์ตการลงทุนเพื่อเกษียณอายุไม่เติบโตตามแผน คือการลงทุนแบบไร้ระบบ ไม่มีวินัย ไม่มีเป้าหมาย และปล่อยให้อารมณ์เป็นตัวตัดสินทุกครั้งที่ตลาดผันผวน ด้วยเหตุนี้ การลงทุนแบบเป็นระบบจึงใช่แค่ “ทางเลือก” แต่เป็น “เครื่องมือจำเป็น” สำหรับการวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการวางแผนระยะยาวอย่างยั่งยืน เพราะจะช่วยควบคุมพฤติกรรมการลงทุนให้อยู่ในกรอบที่มีวินัย และสร้างผลลัพธ์ที่คาดการณ์ได้มากขึ้น โดย 2 กลยุทธ์หลักที่ควรรู้มีดังนี้
DCA คือกลยุทธ์ที่เน้นการทยอยลงทุนจำนวนเงินเท่ากันทุกงวด เช่น รายเดือน หรือรายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาสินทรัพย์ในขณะนั้นจะสูงหรือต่ำ วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนแบบ “จับจังหวะตลาด” ซึ่งแม้แต่นักลงทุนมืออาชีพก็ยังผิดพลาดได้
ประโยชน์ของ DCA
DCA เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกองทุนรวม หุ้น หรือ ETF ที่ต้องการถือยาว และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มั่นใจในจังหวะตลาด
กลยุทธ์นี้เปรียบเหมือนระบบสุริยะ โดยมี “Core” เป็นแกนกลางของพอร์ต และ “Satellite” เป็นส่วนเสริมเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโต
ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือสามารถควบคุมความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตได้ดี ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้พอร์ตได้ประโยชน์จากเทรนด์ที่เติบโตเร็วแบบเฉพาะทาง โดยไม่ต้องลงเงินก้อนใหญ่ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง
ตัวอย่างสัดส่วนเบื้องต้น
ผู้ลงทุนสามารถปรับสัดส่วนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และสามารถใช้กลยุทธ์นี้ควบคู่กับ DCA เพื่อสร้างระบบเก็บเงินเกษียณที่มีทั้งโครงสร้างและวินัยในระยะยาว
หลายคนเข้าใจผิดว่าการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อวางแผนเกษียณเป็นเรื่องที่ “ทำครั้งเดียวจบ” แต่ความจริงคือ พอร์ตที่ดีต้อง “มีชีวิต” และพัฒนาไปพร้อมกับตัวผู้ลงทุนเอง ช่วยให้เป้าหมายวางแผนเกษียณยังคงเดินหน้าอย่างมั่นคง ตัวอย่างการปรับพอร์ต เช่น
สรุปการวางแผนเพื่อเกษียณอายุให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเริ่มลงทุนด้วยเงินหลักพันหรือหลักหมื่น สิ่งสำคัญไม่ใช่จำนวนเงินเริ่มต้น แต่เป็น "ระยะเวลา" และ "วินัย" ในการลงทุนที่สม่ำเสมอ เพราะเวลา คือเพื่อนที่ดีที่สุดของการลงทุนเพื่อการเกษียณ โดยเฉพาะในยุคที่มีเครื่องมือดี ๆ อย่าง InnovestX ซึ่งเป็นตัวช่วยให้คุณจัดพอร์ตลงทุนทั่วโลกได้ง่าย ๆ ผ่านมือถือ พร้อมด้วยแหล่งความรู้ลงทุน Cafe Invest ที่อัปเดตเทรนด์ ต่อยอดความเข้าใจ และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมือใหม่ การเริ่มต้นวางแผนเกษียณจึงไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
เริ่มต้นลงทุนกองทุนรวม หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และสินทรัพย์อื่น ๆ ได้อย่างสะดวก เพียงดาวน์โหลดแอป InnovestX ทั้งบน App Store, Google Play Store และ Huawei Gallery พร้อมก้าวสู่โลกการลงทุนยุคใหม่ภายใต้การดูแลของบริษัทหลักทรัพย์ในกลุ่ม SCBX
คำเตือน
*การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ข้อมูลอ้างอิง: