Theme Play

กองทุน TUSFIN-A โอกาสเข้าลงทุนหุ้น U.S. Financials Sector จากกำไรมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และได้ประโยชน์จากนโยบายของ Trump

3 Jan 25 1:11 PM
Satellite Call Theme Play
Key Summary

INVX มองเป็นจังหวะสะสมหุ้น U.S. Financials Sector จากแนวโน้มการเติบโตของกำไรดี ได้ประโยชน์จากนโยบายของ Trump และกลุ่มธนาคารที่ได้อานิสงค์จาก Yield Curve ที่กลับมาเป็นลักษณะ Normal

  • Macro: เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง และวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในรอบนี้เป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป บ่งชี้เศรษฐกิจเป็นในลักษณะ Soft Landing ถือเป็นสภาวะการลงทุนที่ดีต่อตลาดหุ้น
  • Valuation: เริ่มมีความตึงตัว แต่หากเทียบกับการเติบโตของกำไร และความสามารถในการทำกำไรของกลุ่ม Financials สหรัฐฯ ถือว่ายังมีความน่าสนใจ
  • Growth: คาด Earnings เติบโตต่อเนื่อง และปัจจุบันกำไรถูกปรับประมาณการขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้
  • Technical: ราคาปรับตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น และมีความแกร่งสะท้อนจาก Relative Strength
  • แนะนำกองทุน: TUSFIN-A

[Theme play คือ กลยุทธ์ที่มองหาโอกาสการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐาน การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง เทรนด์ และแนวโน้มการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นโอกาสการลงทุน]

 

INVX มองเป็นจังหวะเข้าลงทุนหุ้น U.S. Financials Sector โดยมองว่าหุ้นกลุ่ม Financials ของสหรัฐฯ น่าจะทำผลตอบแทนได้โดดเด่นกว่า Sectors อื่น ๆ จากสภาวะการลงทุนที่เอื้ออำนวย ทั้งจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง และดอกเบี้ยอยู่ในวัฏจักรขาลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงนโยบายของประธานาธิบดี Donald Trump ที่เน้นไปยังเศรษฐกิจภายในประเทศ การลดกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ การสนับสนุนการควบรวมกิจการ (M&A) และการลดภาษีนิติบุคคล จะช่วยหนุนหุ้นกลุ่ม Financials ให้มีโอกาสเติบโตโดดเด่น นอกจากนี้ การที่เส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) พลิกกลับมาเป็นบวกและมีลักษณะชันขึ้น (Steepening) ส่งผลดีต่อกำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์

 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึง Valuation ของหุ้นกลุ่ม Financials สหรัฐฯ พบว่า ปัจจุบันมูลค่าค่อนข้างตึงตัว สะท้อนจาก Price to Book Ratio ที่อยู่สูงกว่าในอดีตและสูงกว่าภูมิภาคอื่น ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับความสามารถในการทำกำไรสะท้อนจาก Profit Margin และ ROE พบว่า อยู่ในระดับสูงจากค่าเฉลี่ยในอดีตค่อนข้างมากและสูงโดดเด่นกว่าภูมิภาคอื่น ส่งผลให้ตลาดมีการให้ Premium กับหุ้นกลุ่ม Financials สหรัฐฯ ค่อนข้างสูง อีกทั้ง ในช่วงเวลานี้สภาวะแวดล้อมการลงทุนค่อนข้างเอื้ออำนวย ประกอบกับนโยบายจาก Trump จะช่วยหนุนให้หุ้นกลุ่ม Financials สามารถเติบโตได้โดดเด่นได้ต่อจากนี้ มองเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน

 

Macroeconomic

  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความยืดหยุ่นมาก และมีความแข็งแกร่ง ประกอบกับดอกเบี้ยอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นสภาวะการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจ
  • นโยบายจากประธานาธิบดี Donald Trump ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนการเติบโตของหุ้นกลุ่ม Financials ซึ่งจากการหาเสียงของ Trump ได้มีการส่งสัญญาณว่า 1) การลดความเข้มงวดใน Basel III ลง ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องสำรองเงินกองทุนที่มากจนเกินความจำเป็น ทำให้ธนาคารสามารถนำเงินไปปล่อยสินเชื่อและลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น และ 2) การผ่อนปรนกฎเกณฑ์บางประการในการควบรวมกิจการ (M&A) ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการควบรวมกิจการได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อธนาคารและธุรกิจให้คำปรึกษาและการจัดหาเงินทุนนารควบรวมกิจการ นอกจากนี้ นโยบายของ Trump ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศและสนับสนุนการนำการผลิตกลับสู่ประเทศ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของสินเชื่อ
  • หุ้นกลุ่ม Financials ได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคล เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของหุ้นกลุ่มนี้อยู่ในสหรัฐฯ อีกทั้ง จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ คาดว่าการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงจาก 21% เป็น 15% จะส่งผลเชิงบวกต่อการปรับขึ้นของกำไรของกลุ่ม Financials ค่อนข้างมาก เนื่องจากหุ้นกลุ่มนี้มีการเสียภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 23% ซึ่งสูงกว่าระดับ 21%
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ลดดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ภาวะทางการเงินมีความตึงตัวน้อยลง ซึ่งช่วยหนุนกำลังซื้อของผู้บริโภค และดอกเบี้ยที่ลดลงสามารถเพิ่ม Wealth Effect ให้กับผู้บริโภคในสหรัฐฯ ส่งผลให้การใช้จ่ายในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่ม Financials Services
  • เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (UST Yield Curve) ในปัจจุบันมีลักษณะแบบลาดชันเชิงบวก (Normal Yield Curve) หลังจากเกิด Inverted Yield Curve มากว่าสองปี และคาดว่าในระยะข้างหน้า Yield Curve จะเคลื่อนไหวในลักษณะ Steepening ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในขยายตัวดีขึ้น จาก Net Interest Margin (NIM) ที่ปรับกว้างขึ้น

 

ภาพที่ 1: กลุ่ม Financials สหรัฐฯ ได้ประโยชน์จากนโยบายของ Trump มากที่สุด

Picture1.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg, J.P. Morgan Equity Macro Research as of December 2024

 

ภาพที่ 2: หุ้นกลุ่ม Financials ได้ประโยชน์จากนโยบายปรับลดภาษีนิติบุคคลค่อนข้างมาก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ

คาดว่ากลุ่ม Financials จะได้ประโยชน์จากการปรับลดภาษีนิติบุคคลค่อนข้างมาก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศสหรัฐฯ และ หุ้นกลุ่มนี้ในปัจจุบันมีการเสียภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 23% ซึ่งสูงกว่าระดับ 21% ดังนั้น หากมีการปรับลดภาษีจาก 21% เป็น 15% จะกระทบต่อการปรับขึ้นของกำไรของกลุ่ม Financials ค่อนข้างมาก

Picture2.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Standard & Poor’s, J.P. Morgan Asset Management. Based on data available for 456 of 503 companies in the S&P 500. Data are as of November 13, 2024.

 

ภาพที่ 3: หลังทรัมป์รับตำแหน่ง มักจะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลดีต่อกลุ่ม Financials Services และการฟื้นตัวของภาคการผลิต กระตุ้นต่อการขยายตัวของสินเชื่อ ส่งผลดีต่อกลุ่ม Bank

Picture3.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg as of 30 December 2024

 

ภาพที่ 4: เส้นอัตราผลตอบแทนกลับมาเป็นลักษณะ Normal Yield Curve และมีแนวโน้มแบบ Steepening ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร

Picture4.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg as of 30 December 2024

 

Valuation & Growth

  • หุ้น U.S. Financials Sector ปัจจุบันมี Valuation ค่อนข้างสูง สะท้อนผ่าน P/BV Ratio ที่อยู่สูงกว่าค่าในอดีต +2 S.D. และสูงกว่าภูมิภาคอื่น เช่น ยุโรป และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ ตลาดมีการให้ Premium กับกลุ่ม Financials สหรัฐฯ ที่สูงเนื่องจากแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นจากนโยบายสนับสนุนของ Trump และสภาวะการลงทุนที่เอื้ออำนวย
  • กำไรของหุ้นกลุ่ม Financials สหรัฐฯ ถูกปรับประมาณการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยนักวิเคราะห์ปรับกำไรของกลุ่ม Financials ทั้งปี 2025 และ 2026 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และโดดเด่นกว่าดัชนี S&P 500 สะท้อนมุมมองบวกของการเติบโตของหุ้นกลุ่มนี้

 

ภาพที่ 5: หุ้น Financials สหรัฐฯ ซื้อขายในระดับ Premium จากความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตเหนือกว่าตลาดอื่น

Picture5.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg as of 30 December 2024

 

ภาพที่ 6: หุ้น Financials สหรัฐฯ กำไรถูกปรับประมาณการขึ้นต่อเนื่อง และโดดเด่นกว่าดัชนี S&P 500

Picture6.jpg

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg as of 30 December 2024

 

Technical analysis

ในด้านแนวโน้มราคาของหุ้น U.S. Financials Sector เชิงเทคนิค พิจารณาจากทิศทางของดัชนี XLF ETF ยังเป็นเทรนด์ขาขึ้น โดยดัชนีราคายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน และราคาทำ Higher high และ Higher low มาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2024 อีกทั้ง หากพิจารณาความแข็งแกร่งของ หุ้น U.S. Financials Sector สะท้อนจาก Relative Strength เมื่อเทียบกับดัชนี S&P 500 พบว่า หุ้น U.S. Financials Sector มีความแข็งแกร่งกว่ามาก บ่งชี้ว่าหุ้นกลุ่มนี้มีโมเมนตัมแกร่ง เรามองเป้าหมายผ่านดัชนีอ้างอิง XLF ETF ที่บริเวณ $54.18

image-(6).png

Source: InnovestX Wealth Products & Strategy, Bloomberg as of 30 December 2024

 

กองทุนแนะนำ: TUSFIN-A

 

จาก Universe หุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ (ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว) ของ INVX มีทั้งหมดจำนวน 3 กองทุน

Picture8.jpg

Source: Fund Fact Sheet as of 30 November 2024

 

การพิจารณาคัดเลือกกองทุน TUSFIN-A

  1. พิจารณากองทุนกลุ่มการเงินสหรัฐฯ: คัดเลือกองทุนกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ที่มีการกระจายลงทุนในหลายกลุ่มการเงิน ทั้งกลุ่ม Financials Services, Capital Markets, Banks และ Insurance และมีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive Investment โดยจะเหลือ 2 กองทุนหลัก ได้แก่ iShares US Financial Services ETF (IYG) และ Financial Select Sector SPDR® Fund (XLF)

Picture9.jpg

Source: iShares and SPDR as of 30 Dec 2024

 

  1. พิจารณาด้านผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี:
    • ผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี, 3 ปี และ 5 ปี ย้อนหลังทั้ง 2 กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกัน
    • ด้าน Risk-adjusted Return ของ XLF ดีกว่าทั้งในช่วง 1 ปี, 3 ปี และ 5 ปี
    • ด้าน Maximum Drawdown (M.D.D.) ย้อนหลังของทั้ง 2 กองทุนในช่วง 5 ปีใกล้เคียงกัน

Picture10.jpg

Source: Morningstar as of 30 Nov 2024

 

  1. พิจารณาด้านค่าใช้จ่ายของกองทุนหลักและกองทุนไทย
  • ค่าใช้จ่ายโดยรวมของกองทุน TUSFIN-A และ XLF ต่ำกว่ากองทุน LHUSFIN-A และ IYG

Picture11.jpg

Source: TISCOASSET, LHFUND, iShares and SPDR as of 30 Nov 2024

 

ดังนั้นทางทีมจึงพิจารณาแนะนำกองทุนรวม TUSFIN-A เนื่องจากเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก XLF ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนแบบอ้างอิงดัชนี Financial Select Sector ใน S&P 500 Index ซึ่งมีภาพรวมผลการดำเนินงานใกล้เคียงกับกอง IYG ในระยะกลาง-ยาว ขณะที่ XLF มี Risk-adjusted Return ที่ดีกว่า และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถเข้าลงทุนในกองทุนทางเลือก LHUSFIN-A ได้เช่นกัน

 

สรุปจุดเด่นของกองทุนและกองทุนหลัก Financial Select Sector SPDR® Fund (XLF)

  1. กองทุน TUSFIN-A ลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ผ่านกองทุนหลัก Financial Select Sector SPDR® Fund (XLF)
  2. State Street Global Advisors (SSGA) เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ระดับโลก ให้บริการกองทุนรวม ETF และโซลูชันการลงทุนแก่ลูกค้าสถาบันและนักลงทุนรายย่อย
  3. XLF มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive Investment ซึ่งอ้างอิงดัชนี Financial Select Sector
  4. XLF มีพอร์ตการลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ที่อยู่ในดัชนี S&P 500 โดยมีหุ้นบริษัทกลุ่มการเงินกว่า 70 บริษัท
  5. ดัชนีอ้างอิง Financial Select Sector มีการให้น้ำหนักของหุ้นด้วยวิธี Modified Market Cap Weight เพื่อให้ดัชนีไม่กระจุกในหุ้นขนาดใหญ่มากเกินไป
  6. กองทุนหลัก XLF มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ARCA และซื้อขายด้วยสกุลเงิน USD มีสภาพคล่องสูง
  7. พอร์ตการลงทุนของ XLF มีการกระจุกตัวในกลุ่มการเงินเป็นหลัก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ Financials Services, Capital Markets, Banks และ Insurance
  8. หุ้นที่มีสัดส่วนการลงทุนมากสุดในปัจจุบันได้แก่ Berkshire Hathaway บริษัทโฮลดิ้งที่บริหารโดย Warren Buffet ลงทุนในธุรกิจหลากหลาย, JPMorgan Chase & Co เป็นธนาคารและบริษัทการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ, Visa และ Master Card ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีการชำระเงินระดับโลก, Bank of America ธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ
  9. ตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุน XLF เมื่อ 16 ธ.ค. 1998 กองทุนหลัก XLF สร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 6.2% ต่อปี
  10. กองทุน TUSFIN-A เป็นกองทุนหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ที่มีกลยุทธ์การบริหารแบบ Passive Investment ที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุดในไทย

 

กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส ไฟแนนเชียล (TUSFIN-A) เป็นกองทุนรวมหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ที่ลงทุนในกองทุนหลัก Financial Select Sector SPDR Fund (XLF) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Financial Select Sector ที่สร้างผลการดำเนินงานอ้างอิงสะท้อนกลุ่มการเงินในดัชนี S&P 500

 

ซึ่งกองทุนหลัก Financial Select Sector SPDR Fund ถูกบริหารโดย State Street Global Advisors (SSGA) มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NYSE ARCA และซื้อขายด้วยสกุลเงิน USD มีสภาพคล่องสูง โดยมีขนาดกองทุนกว่า USD48 Billion และมีกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ในดัชนี S&P 500 เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานของหุ้นกลุ่มการเงินในดัชนี S&P 500 ซึ่งดัชนีอ้างอิงของกองทุนหลัก (Financial Select Sector) โดย ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2024 ดัชนีอ้างอิงมีหุ้นอยู่ทั้งหมด 73 ตัว

 

ทั้งนี้ ดัชนีอ้างอิงมีการให้น้ำหนักหุ้นรายตัวด้วยวิธี Modified Market Cap Weight โดยจะพิจารณาจาก Float-adjusted Market Capitalization (FMC) ของหุ้นแต่ละตัว และหากหุ้นใดที่มี FMC เกิน 24% จะถูกจำกัดน้ำหนักของหุ้นให้ไม่เกิน 23% (มี buffer 2%) นอกจากนี้ ยังมีการจำกัดให้หุ้นที่มีน้ำหนักเกินกว่า 4.8% ในดัชนีเมื่อเอาทุกตัวรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 50% ของดัชนี (มี buffer ต่ำกว่า 5%) เพื่อให้ดัชนีไม่กระจุกในหุ้นขนาดใหญ่มากเกินไป และจะมีการ Rebalance Index 4 ครั้งต่อปีในทุก ๆ ไตรมาส เพื่อให้ดัชนีสะท้อนสะท้อนความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างเหมาะสม

 

กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย (ณ 30 ธ.ค. 2024) 

  1. Financials Services 32.3%
  2. Capital Markets 24.9%
  3. Banks 23.2%
  4. Insurance 15.2%

 

Top holdings (ณ 30 ธ.ค. 2024)

  1. Berkshire Hathaway บริษัทโฮลดิ้งที่บริหารโดย Warren Buffet ลงทุนในธุรกิจหลากหลาย เช่น ประกัน หุ้น และสินค้าผู้บริโภค พร้อมบริหารพอร์ตการลงทุนขนาดใหญ่
  2. JPMorgan Chase & Co เป็นธนาคารและบริษัทการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ให้บริการธนาคารพาณิชย์การลงทุน สินเชื่อ และบริหารสินทรัพย์ระดับโลก
  3. Visa บริษัทเทคโนโลยีการชำระเงินระดับโลก ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตและเดบิต อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินทั่วโลก
  4. Mastercard บริษัทเทคโนโลยีการชำระเงินระดับโลก ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เดบิต และโซลูชันการชำระเงินดิจิทัลในหลายประเทศทั่วโลก
  5. Bank of America ธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ให้บริการธนาคารพาณิชย์ การลงทุน สินเชื่อและบริหารจัดการความมั่งคั่ง

 

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักย้อนหลัง (ณ 30 พ.ย. 2024)

  • ผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 45.3% เทียบดัชนีชี้วัดที่เฉลี่ยต่อปีที่ 45.5%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 12.6% เทียบดัชนีชี้วัดเฉลี่ยต่อปีที่ 12.7%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 5 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 13.4% เทียบดัชนีชี้วัดเฉลี่ยต่อปีที่ 13.6%

 

คำเตือน: ผลการดำเนินในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนที่ได้รับในอนาคต กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บล.อินโนเวสท์ เอกซ์

Most Viewed Ideas
1/5
Related Ideas
Most Viewed Ideas
1/5