Key Summary
ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวหลังปธน. สี จิ้นผิง ระบุว่าจะดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุกมากขึ้น พร้อมทั้งส่งสัญญาณว่าจะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในปี 2025 ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากคำว่า “รอบคอบ” ส่งผลให้มีแนวโน้มว่าทางการจีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในระยะต่อจากนี้ อีกทั้ง Valuation ตลาดหุ้นจีนที่ถูกกว่าตลาดหุ้น EM และ EM ex China ค่อนข้างมาก ทำให้ Upside ค่อนข้างเปิดกว้าง
- China Eases Monetary Policy Stance: ทางการจีนส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2025 ทำให้มีแนวโน้มว่าทางการจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นต่อจากนี้
- Cheap Valuation: ตลาดหุ้นจีนมี Valuation อยู่ในระดับถูกมาก และ Discount จากตลาดหุ้น EM และ EM ex China ค่อนข้างมาก ทำให้ Upside เปิดกว้าง
- Stimulus Matters More Than Tariff: นักลงทุนให้น้ำหนักในเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมากกว่าความกังวลการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของทรัมป์
- Consumption is a Key : INVX ประเมินว่าหากรัฐบาลกระตุ้นการบริโภคจะทำให้หุ้นจีนฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
- Technical: ดัชนีราคาทะลุผ่านเส้นแนวต้าน พร้อมทั้ง MACD ตัดเส้น Signal line ขึ้น ส่งสัญญาณกลับทิศเป็นขาขึ้นในระยะสั้น
- แนะนำกองทุน: K-CHINA-A(A)
[Event play คือ กลยุทธ์ลงทุนตามปัจจัยสนับสนุนระยะสั้น ด้วยสัญญาณ Technical และ Market Sentiment มี Catalyst สนับสนุน หรือ Event-play]
ตลาดหุ้นจีนได้แรงหนุนหลังรายงานการประชุม Politburo ของพรรคคอมมิวนิสต์นำโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในลักษณะที่ผ่อนคลายมากขึ้นในปี 2025 โดยระบุว่าในปี 2025 จะดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุกมากขึ้น พร้อมทั้งระบุว่าจะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปานกลาง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากแต่ก่อนที่ใช้คำว่า “รอบคอบ” มากว่า 14 ปี ทำให้มีแนวโน้มว่าจะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนเพิ่มเติมในระยะต่อจากนี้ โดยให้จับตารายละเอียดนโยบายที่จะประกาศออกมาในการประชุม China Economic Work Conference (CEWC) และการประชุม Two Sessions ช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ว่าจะมีมาตรการคลังใดออกมาเพิ่มเติมบ้าง ดังนั้น จากท่าทีของทางการจีนที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้เรามีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นจีนในระยะสั้นมากขึ้น จากการที่ตลาดหุ้นจีนมีระดับ Valuation ที่ถูกมาก ทำให้เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นเชิงบวก (Positive Catalyst) เข้ามา ผ่านการกระตุ้นจากทางการจีนจะเป็นตัวช่วยผลักดัน Momentum ของตลาดหุ้นจีนได้มากในระยะต่อจากนี้
China Eases Monetary Policy Stance
- ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในลักษณะที่ผ่อนคลายมากขึ้นในปี 2025
- ท่าทีของทางการจีนระบุดำเนินนโยบายการคลังในลักษณะเชิงรุกมากขึ้นและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ถือเป็นการส่งสัญญาณเรียกความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นจีน
- จับตาผลการประชุม CEWC ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 ธ.ค. เพื่อประเมินเป้าหมายและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับปี 2025 อย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการจีนอะไรออกมาเพิ่มเติม
Cheap Valuation
- Valuation ของตลาดหุ้นจีน ดัชนี MSCI China อยู่ในระดับที่ถูกมาก โดย FWD P/E ของดัชนี MSCI China All Shares อยู่ที่ประมาณ 10 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ประมาณ -1 S.D. สะท้อน Valuation ที่อยู่ในระดับถูก อีกทั้ง หากเปรียบเทียบ Valuation กับตลาดหุ้น EM และตลาดหุ้น EM ex China พบว่า ตลาดหุ้นจีนซื้อขาย Discount มากถึงราว 20% ทำให้เรามองว่าตลาดหุ้นจีนมีโอกาสกลับไปซื้อขายที่ Valuation ใกล้เคียงกับตลาดหุ้น EM และตลาดหุ้น EM ex China เหมือนในอดีต หลังทางการจีนมีท่าทีส่งเสริมการฟื้นตัวเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
ภาพที่ 1: Valuation ของตลาดหุ้นจีน discount จากตลาดหุ้น EM และ EM ex China ค่อนข้างมาก
Source: WPS, Bloomberg as of 22 November 2024
Stimulus Matters More Than Tariff
- ในปัจจุบันพบว่านักลงทุนกังวลกับการมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ว่ามีแนวโน้มที่จะขึ้นภาษีคล้ายคลึงกับในปี 2018 – 2019 ภายใต้นโยบาย TRUMP 2.0 อันสะท้อนผ่านภาพที่ 2 ที่พบว่าปัจจุบันตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวลดลงคล้ายคลึงกับช่วงปี 2016 ก่อนที่ทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่ง
ภาพที่ 2 : การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นจีน (MSCI China) ถูกแรงขายนับตั้งแต่การเลือกตั้งสหรัฐฯ จบลงซึ่งคล้ายกับปี 2016
- จากการศึกษาของ INVX พบว่า ผลกระทบของนโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของทรัมป์ในรอบนี้อาจจะไม่ได้กระทบกับกำไรตลาดหุ้นจีนอย่างมีนัยสำคัญดังเช่นในช่วงปี 2017 เนื่องจากในช่วง 5 ปีล่าสุด ภาคการส่งออกไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเติบโตของกำไรของตลาดหุ้นจีนอย่างมีนัยสำคัญ (ภาพที่ 3) ทำให้นโยบายภาษีของทรัมป์ครั้งนี้อาจกระทบเพียง Sentiment ระยะสั้น โดยนักลงทุนให้น้ำหนักในเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมากกว่า
ภาพที่ 3: ความสัมพันธ์ระหว่างกำไรของ MSCI China และส่งออกของจีนนั้นน้อยลงกว่าในอดีตที่ทรัมป์เริ่มสงครามการค้า
Source: WPS, Bloomberg as of 22 November 2024
- อีกทั้งในช่วงต้นปีจะมีการประชุมใหญ่ของรัฐบาลจีนอย่างการประชุมสองสภาหรือ 2-Sessions meeting ซึ่งมีแนวโน้มที่รัฐบาลจีนจะประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกระตุ้นในหมวดของการบริโภคภาคครัวเรือนที่มากขึ้น หลังจากมีการออกนโยบายช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในช่วงไตรมาส 3 ปีที่ผ่านมาและได้รับกระแสตอบรับที่ดี
มาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาได้รับผลเชิงบวก
ภาพที่ 4 : การเติบโตของยอดค้าปลีก (YoY) แบ่งตามยอดขายและรายได้
Source: MOFCOM as of 31 October 2024
- INVX ประเมินว่าตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนนอกเหนือไปจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว คือ “ความกล้าในการบริโภค” จากตัวเลขค้าปลีกล่าสุดประจำเดือนตุลาคมพบว่าการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนของจีนได้รับแรงหนุนจาก 2 ปัจจัย 1. การบริโภคที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการเข้าสู่ช่วงวันคนโสดที่มีการจัดโปรโมชั่นเร็วกว่าปีที่แล้ว โดยมีการเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคม และ 2.การสนับสนุนของภาครัฐฯ สำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยจะพบว่าจากภาพที่ 3 นับตั้งแต่รัฐบาลจีนมีการส่งสัญญาณการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสที่ 3 ก็ทำให้ยอดค้าปลีกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Source: MOFCOM as of 31 October 2024
- โดยมาตรการอุดหนุนการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนช่วงวันที่ 1 ตุลาคมนั้นช่วยหนุนยอดค้าปลีกในช่วงที่ผ่านมา (ภาพที่ 4) ทำให้ทาง INVX ประเมินว่าในการประชุมสำหรับ 2-Sessions ในช่วงต้นปีหน้ามีแนวโน้มที่รัฐบาลจีนจะเน้นการออกนโยบายด้านการสนับสนุนการบริโภคมากยิ่งขึ้นและจะเป็นการลดการพึ่งพาภาคการส่งออกที่มีความเสี่ยงจากการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ไปโดยปริยาย โดยในปัจจุบันพบว่านักวิเคราะห์จาก Bloomberg ทยอยปรับประมาณการกำไรของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคของจีน (MSCI China) อย่างค่อยเป็นค่อยไป (ภาพที่ 5)
ภาพที่ 6: กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเริ่มถูกปรับประมาณการกำไรขึ้น
Technical analysis
ในด้านแนวโน้มราคาหุ้นจีนเชิงเทคนิค พิจารณาจากทิศทางของราคาตลาดหุ้นจีนจากดัชนี MSCI China ในภาพระยะสั้นส่งสัญญาณกลับตัวจากแนวโน้มขาลง (Down-Trend) สู่ทิศทางขาขึ้น หลังจากดัชนีราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวต้าน และ MACD ตัดเส้น Signal line ขึ้น บ่งชี้ถึงสัญญาณของการกลับทิศเป็นขาขึ้น เรามองเป้าหมายดัชนีที่บริเวณ 75 จุด
Source: WPS, Bloomberg as of 24 September 2024
กองทุนแนะนำ: K-CHINA-A(A)
จาก Universe หุ้นจีน All Shares แบบ Active (ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว) ของ INVX มีทั้งหมดจำนวน 12 กองทุน
Source: Fund Fact Sheet as of 30 September 2024
การพิจารณาคัดเลือกกองทุน K-CHINA-A(A)
- พิจารณากองทุนที่เน้นการบริโภคภายในประเทศ: คัดเลือกองทุนหุ้นจีน All Shares ที่มีการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Domestic Consumption เป็นสัดส่วนหลัก (มากกว่าครึ่งหนึ่งของพอร์ต) ซึ่งได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม Consumer Discretionary, Consumer Staples, Communication Services, Health Care โดยมีจำนวน 6 กองทุนหลัก
Source: JPM, BGF, UBS, Schroder and abrdn
- พิจารณาด้านผลการดำเนินงานในช่วงตลาดขาขึ้น:
- พิจารณาปีที่ตลาดหุ้นจีนเป็นบวกในช่วง 10 ปี (2013 – 2023) ได้แก่ ปี 2014, 2017, 2019 และ 2020
- ทั้งนี้ ในปี 2019 และ 2020 มีประวัติผลการดำเนินงานครบทั้งหมด 6 กองทุน
- จึงนำข้อมูลผลตอบแทนเฉลี่ยของ 2 ปีนี้ ของทั้งหมด 6 กองมาจัดเรียงอันดับว่า ในปีที่ดัชนีหุ้นจีนเป็นบวก กองทุนไหนสามารถสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่น ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ JPM China, Schroder ISF All China Equity และ UBS (Lux) ES All China
Source: Morningstar as of Dec 2023
- พิจารณา Beta หรือการปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับตลาด: พิจารณากองทุนที่มี Beta สูงเมื่อเทียบกับดัชนี (MSCI China All Shares และ MSCI China 10/40) เพื่อคัดเลือกกองทุนที่มีแนวโน้มสร้าง Return ได้โดดเด่นเมื่อตลาดจีนมีแนวโน้มเชิงบวก โดยกองทุน JPM China มีค่า Beta สูงสุดเมื่อเทียบกับกองทุนอื่นๆ ในทุกช่วง Period
Source: Bloomberg as of 31 October 2024
- พิจารณาผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา: โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า กองทุน JPM China ยังสอดคล้องกับผลการดำเนินงานในช่วงที่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นหลังมีการประกาศมาตรการกระตุ้นในวันที่ 24 ก.ย. 2024 ที่ผ่านมา จนถึงจุดสูงสุดในวันที่ 7 ต.ค. 2024 ที่ผ่านมา
Source: Bloomberg as of 7 October 2024
สรุปจุดเด่นของกองทุนและกองทุนหลัก JPMorgan Funds – China Fund
- กองทุน K-CHINA-A(A) มุ่งลงทุนในหุ้นจีน All Shares ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds - China Fund
- JPMAM เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำระดับโลก โดยมีจุดเด่นด้านทีมวิเคราะห์ที่แข็งแกร่ง
- ผู้จัดการกองทุนหลัก คุณ Rebecca Jiang มีประสบการณ์ด้านการบริหารพอร์ตลงทุนมาแล้วกว่า 19 ปี และคุณ Li Tan มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมา 12 ปี
- กองทุนมีปรัชญาการลงทุนโดยมุ่งลงทุนแบบเชิงรุก เน้นการทำ Bottom-up แต่ละบริษัทอย่างเชิงลึก และเลือกลงทุนแบบ High Conviction และ Long-term ในหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโต และมีคุณภาพสูง
- ใช้กรอบ Strategic Classifications มาประเมินหลักทรัพย์ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย Economics, Duration, และ Governance
- หุ้นที่ทีมผู้จัดการกองทุนคัดเลือกจะประเมินปัจจัยอย่างการเติบโตของรายได้และเงินปันผล รวมถึงมูลค่าที่เหมาะสมของแต่ละบริษัท เพื่อทำนายผลตอบแทนที่คาดหวังในกรอบระยะเวลา 5 ปีอีกด้วย โดยจะต้องเป็นบริษัทที่มีคุณภาพสูง สามารถสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวได้ และมีสัญญาณอันตราย (Red Flags) ต่ำ
- กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีการลงทุน ได้แก่ Consumer Discretionary, Communication Services, Information Technology, Financials และ Industrials
- ตัวอย่างหุ้นชั้นนำที่กองทุนลงทุน ได้แก่ Tencent บริษัทเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตชั้นนำของจีน, Alibaba บริษัทเทคโนโลยี และอีคอมเมิร์ซเบอร์ต้นของจีน, Meituan บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับบริการไลฟ์สไตล์ครบวงจร, Pinduoduo ผู้ให้บริการแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน, Trip.com บริษัทแพลตฟอร์มท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำจากจีน
- กองทุนหลัก มีค่า Beta สูงทั้งในปี 2019 และ 2020 ที่ตลาดจีนสร้างผลตอบแทนเป็นบวก รวมถึงในช่วง 1 ปี 3 ปี 5 ปีล่าสุด เมื่อเทียบกับดัชนี MSCI China All Shares และ MSCI China 10/40
- กองทุนหลักสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงปีที่ตลาดหุ้นจีนเป็นขาขึ้น เช่น ปี 2020 โดยสร้างผลตอบแทน 70.8% ขณะที่ดัชนี MSCI China All Shares สร้างผลตอบแทนเพียง 33.4% หรือดัชนี MSCI China 10/40 สร้างผลตอบแทนเพียง 30.8% และจากมาตรการกระตุ้นจีนในรอบที่ผ่านมา (23 Sep 2024 – 7 Oct 2024) กองทุนหลักสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นสูงถึง 41.1%
กองทุนเปิดเค ไชน่า หุ้นทุน-A (K-CHINA-A(A)) เป็นกองทุนรวมหุ้นจีนที่เน้นลงทุนในหุ้นจีน All Shares หรือกลุ่มหุ้นจีนที่กระจายตัวอยู่ในทั้ง ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ และตลาดหุ้นฮ่องกง ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds - China Fund – Class JPM I (acc) USD
ซึ่งกองทุนหลัก JPMorgan Funds - China Fund ถูกบริหารโดย JPMorgan Asset Management (JPMAM) โดยมีทีมผู้จัดการกองทุนทั้งหมด 2 ท่าน ด้วยกัน ประกอบด้วย คุณ Rebecca Jiang ผู้มีประสบการณ์ในด้านการบริหารพอร์ตการลงทุนมาแล้วถึง 19 ปี และอยู่กับ JPMAM มาแล้ว 7 ปีด้วยกัน กับคุณ Li Tan ผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกว่า 12 ปี และอยู่กับ JPMAM มาแล้วถึง 13 ปี นอกจากนี้ ยังมีคุณ Howard Wang ผู้เป็น Head of Greater China คอยดูแลภาพรวมของกองทุนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ JPMAM ถือเป็นหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และมีจุดเด่นด้านทีมงานนักวิเคราะห์ที่แข็งแกร่ง โดย JPMAM ได้ใช้งบประมาณไปมากกว่า 163 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในแต่ละปีสำหรับการทำบทวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก และยังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 23 คนที่มีประสบการณ์เฉลี่ยถึง 18 ปี สำหรับการวิเคราะห์หุ้นจีนโดยเฉพาะอีกด้วย
Source: JPMorgan Asset Management as of 31 August 2024
และการมีทีมผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์สูง ประกอบกับทีมนักวิเคราะห์ที่แข็งแกร่ง จึงเป็นจุดแข็งที่ทำให้กองทุน JPMorgan Funds - China Fund มุ่งลงทุนแบบเชิงรุก โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Bottom-up เน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานรายบริษัทอย่างเชิงลึก และเลือกลงทุนแบบ High Conviction และ Long-term ในหุ้นที่มีแนวโน้มการเติบโต และมีคุณภาพสูง
โดยทีมผู้จัดการกองทุนหลักจะใช้กรอบ Strategic Classifications มาประเมินหลักทรัพย์ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย
- Economics เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของบริษัทในการสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจะประเมินการสร้างรายได้และกระแสเงินสดอย่างยั่งยืน รวมถึงประเมินการหาและการใช้เงินทุนของแต่ละบริษัท
- Duration เพื่อวิเคราะห์ว่าบริษัทจะสามารถสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้ โดยจะทำการประเมินภาพรวมของแต่ละอุตสาหกรรม ความสามารถในการแข่งขันของแต่ละบริษัท รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบเพิ่มเติม
- Governance เพื่อประเมินปัจจัยด้านธรรมาภิบาลของแต่ละบริษัทที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นได้ เช่น ความสามารถและความโปร่งใสของผู้บริหาร หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
Source: JPMorgan Asset Management as of 31 August 2024
นอกเหนือไปจากนั้น ทีมผู้จัดการกองทุนหลักจะยังทำการประเมินปัจจัยอย่างการเติบโตของรายได้และเงินปันผล รวมถึงมูลค่าที่เหมาะสมของแต่ละบริษัท เพื่อทำนายผลตอบแทนที่คาดหวังในกรอบระยะเวลา 5 ปีอีกด้วย และเมื่อประเมินอย่างครบถ้วนแล้ว ผู้จัดการกองทุนจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูง สามารถสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวได้ และมีสัญญาณอันตราย (Red Flags) ต่ำ
Source: JPMorgan Asset Management as of 31 August 2024
กลุ่มอุตสาหกรรม (ณ 31 ต.ค. 2024)
- Consumer Discretionary 31.5%
- Communication Services 15.9%
- Information Technology 14.0%
- Financial Services 13.8%
- Industrials 7.6%
Top holdings (ณ 31 ต.ค. 2024)
- Tencent บริษัทเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตชั้นนำของจีน
- Meituan บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับบริการไลฟ์สไตล์ครบวงจร
- Alibaba บริษัทเทคโนโลยี และอีคอมเมิร์ซเบอร์ต้นของจีน
- Pinduoduo ผู้ให้บริการแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน
- Trip.com บริษัทแพลตฟอร์มท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำจากจีน
ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักย้อนหลัง (ณ 30 พ.ย. 2024)
- ผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน 5.0% เทียบกับดัชนี MSCI China All Shares NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ 12.4% หรือเทียบกับดัชนี MSCI China 10/40 NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ 13.1%
- ผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ -15.3% เทียบกับดัชนี MSCI China All Shares NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ -8.6% หรือเทียบกับดัชนี MSCI China 10/40 NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ -8.0%
- ผลการดำเนินงานในช่วง 5 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ -1.7% เทียบกับดัชนี MSCI China All Shares NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ -0.5% หรือเทียบกับดัชนี MSCI China 10/40 NR USD ที่สร้างผลตอบแทนต่อปีที่ -1.8%
คลิกที่นี่เพื่อดูกองทุนเคาะซื้อใน INVX Satellite Portfolio ล่าสุด
คำเตือน: ผลการดำเนินในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนที่ได้รับในอนาคต กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บล.อินโนเวสท์ เอกซ์