Theme Play

กองทุน BGOLD โดยราคาทองคำทำ “All Time High” และยังได้แรงหนุนจากวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง อุปสงค์จากธนาคารกลางทั่วโลก และป้องกันความเสี่ยงและความไม่แน่นอน

13 Sep 24 9:18 PM
Wealth_Idea_Thumbnail-24
Key Summary

INVX “แนะนำลงทุนทองคำต่อ” หลังทองคำทำ “All Time High” ราคาพุ่งทะลุ 2,557 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมสัปดาห์หน้า (รอบการประชุมเดือน ก.ย.)

  • Global rate cutting cycle: ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้ง FED มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยลงครั้งแรกในการประชุมเดือน ก.ย.
  • Gold demand from central banks: ธนาคารกลางทั่วโลกสะสมทองคำเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  • Uncertainty hedge: ทองคำสามารถป้องกันความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนต่าง ๆ ได้
  • Technical: ราคาทองคำส่งสัญญาณแนวโน้มขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
  • แนะนำกองทุน INVX Top Pick: BGOLD กองทุนทองคำใหญ่สุดในไทย สภาพคล่องสูง ค่าธรรมเนียมถูก ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินจากทิศทางเงินบาทระยะข้างหน้ามีแนวโน้มอ่อนค่า

[Theme play คือ กลยุทธ์ที่มองหาโอกาสการลงทุนจากปัจจัยพื้นฐาน การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง เทรนด์ และแนวโน้มการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นโอกาสการลงทุน]

 

ราคาทองคำพึ่งทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ โดยปรับตัวขึ้นแตะระดับ 2,557 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ (ข้อมูล ณ 12 ก.ย. 67) โดยได้รับแรงสนับสนุนหลังจาก กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 1.7% YoY ในเดือน ส.ค. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.2% YoY ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในทิศทางชะลอตัวลง และเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ซึ่งจะช่วยให้ทองคำมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยคาดว่า FED จะทำการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ย. ที่ 0.25% นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้อีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 12 ก.ย. 2024 เมื่อคืนที่ผ่านมา สะท้อนภาพรวมธนาคารกลางทั่วโลก กำลังเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง

 

นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับปัจจัยสนับสนุนในระยะยาวจากอุปสงค์ทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลกที่ยังคงสะสมทองคำเข้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Exchange Reserves) เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะจากธนาคารกลางในฝั่งของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market) ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนเฉลี่ยของทองคำใน Reserves เพียง 6% ต่ำกว่าประเทศตลาดพัฒนาแล้ว Developed Market) ที่มีสัดส่วนเฉลี่ยถึง 12% ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากทั้งความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงด้านการเงิน สะท้อนจาก U.S. 5-Year CDS หรือตราสารป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของความเสี่ยงทางการเงินปรับตัวแกว่งในช่วง 30-60 bps. ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่อยู่ประมาณ 20 bps. บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกหันมาซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงกันมากขึ้น และเป็นการลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (De-Dollarization) ท่ามกลางการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจโลกและการแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling)

 

Global Rate Cutting Cycle

  • ทองคำมักทำผลตอบแทนได้ดีในสภาวะที่ดอกเบี้ยเป็นขาลง เนื่องจากราคาทองคำมีความสัมพันธ์ที่ตรงกันข้ามกับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real Yield) ดังนั้น ในช่วงดอกเบี้ยขาลงจะส่งผลให้ Real Yield ปรับตัวลงและทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น
  • วัฏจักรดอกเบี้ยกำลังเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง โดยธนาคารหลัก ๆ ได้เริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงแล้วอาทิ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นต้น โดยล่าสุด ECB ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ของปีแล้ว พร้อมทั้งปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 2024 และปี 2025 นอกจากนี้ด้วยสภาวะการเมืองยุโรปที่เริ่มมีความไม่แน่นอนอาจส่งผลให้ทาง ECB จะยังคงเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่ออีกในระยะข้างหน้า ซึ่งส่งผลดีต่อราคาทองคำ
  • ส่วนในฝั่งของสหรัฐฯ ปัจจุบันคาดว่า FED มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรกในรอบการประชุมเดือน ก.ย. ที่ 0.25% หลังเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งจากสถิติในอดีตย้อนหลังตั้งแต่ปี 2000 พบว่า หลังจาก FED ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรก ราคาทองคำจะตอบสนองในทิศทางบวกโดยให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นมาก ทำให้เราคาดว่าราคาทองคำจะได้รับแรงหนุนและได้รับความสนใจมากขึ้นจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่ลดลง

 

ภาพที่ 1: วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงส่งผลดีต่อทองคำ ในอดีตบ่งชี้ว่าทองคำปรับตัวขึ้นแรงหลัง FED ลดดอกเบี้ย

Gold-v-Fed-Cut.png

Source: Bloomberg

 

Gold Demand from Central Banks

  • ธนาคารกลางยังมีแนวโน้มสะสมทองคำเข้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Exchange Reserves)  อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารกลางในฝั่ง EM ที่ยังมีสัดส่วนทองคำต่อเงินทุนสำรองทั้งหมด (Gold Reserves) ที่มีสัดส่วนน้อยกว่าทางฝั่งประเทศ DM อยู่มาก
  • สาเหตุหลักที่ธนาคารกลางทั่วโลกสะสมทองคำมากขึ้น มาจากการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจและแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling)
  • ความเสี่ยงทางการเงิน สะท้อนจากหนี้รัฐบาลทั่วโลกอยู่ในระดับ อย่างเช่น สหรัฐฯ ทำให้มีกระแส De-dollarization ที่มากขึ้น โดยธนาคารกลางต่าง ๆ พยายามลดการถือครองดอลลาร์สหรัฐฯ เปลี่ยนเป็นสะสมทองคำใน Reserves แทน
  • นอกจากนี้ เริ่มเห็นสัญญาณเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิ (Net inflow) ของกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ETF) ซึ่งลงทุนในทองคำทั่วโลกมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือน ส.ค. หลังจากเม็ดเงินของกองทุน ETF ไหลออกสุทธิ (Net outflow) มานานอย่างต่อเนื่องนับปี โดยเราคาดว่าการที่ Real Yield ปรับตัวลงจะสนับสนุนให้มีเม็ดเงินจากกองทุน ETF ไหลเข้าลงทุนสุทธิในทองคำอย่างต่อเนื่อง

ภาพที่ 2: อุปสงค์จากธนาคารกลางทั่วโลกยังเป็นปัจจัยหนุนหลักต่อทองคำในระยะยาว

Gold-Demand.png

Source: Bloomberg, and World Gold Council

 

ภาพที่ 3: การขาดดุลทางการคลังที่มากขึ้น ส่งผลให้ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงทางเงิน

Gold-Deficit.png

Source: Bloomberg, CBO

 

ภาพที่ 4: ETF Flow พลิกกลับมา Net inflow อีกครั้ง หลังจาก Net outflow มาอย่างต่อเนื่องนับปี

Gold-ETF-Flow.png

Source: Bloomberg

 

Uncertainty hedge

  • ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น กระตุ้นแรงซื้อจากนักลงทุนในการเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อย่างทองคำเพื่อป้องการความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส รวมถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคาทองคำได้รับ Premium จากประเด็นดังกล่าว
  • อีกทั้ง ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มักมีความผันผวนทางต่อตลาดการเงินค่อนข้างมาก สะท้อนจากดัชนี VIX ที่มักปรับตัวสูงขึ้นก่อนการเลือกตั้ง ทำให้ทองคำทำหน้าที่ได้ดีในการรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง
  • ทองคำเหมาะสมกับการใช้เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน

 

Technical analysis

ในด้านแนวโน้มราคาทองคำเชิงเทคนิค พิจารณาจากทิศทางของราคาทองคำจากดัชนี XAUUSD ยังส่งสัญญาณเป็นเทรนด์ขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ตั้งแต่ปี 2023 โดยราคาทองคำสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาทองคำเบรคแนวต้านที่สำคัญที่บริเวณ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ เรามองเป้าหมายราคาทองคำที่ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ใน 12 เดือนข้างหน้า

Gold-TA.jpg

Source: Bloomberg as of 13 September 2024

 

มุมมองด้านค่าเงินและประเภทกองทุนที่แนะนำ

  1. ค่าเงินบาทแข็งค่ามากในช่วงที่ผ่านมา จากประเด็นด้านการเมืองภายในประเทศไทยที่คลี่คลาย และความคาดหวังการลดดอกเบี้ยนโยบายจาก FED ของนักลงทุน ทั้งนี้ เรามองว่าการแข็งค่าของค่าเงินบาทต่อจากนี้จะเริ่มจำกัด
  2. หากพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย พบว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้เอื้อต่อบริบทที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าได้มาก จากความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกที่มีการเกินดุลลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
  3. ปัจจุบันนักลงทุนมีความคาดหวังต่อการปรับลดดอกเบี้ยของ FED ที่มากเกินไป โดยตลาดคาดการณ์ว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในปีนี้ถึง 1% ซึ่งมากกว่ากรณี Base ที่เราประเมินไว้ว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยเพียง 0.5%
  4. เรามองว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ในระยะข้างหน้ามีโอกาสแข็งค่ามากกว่าอ่อนค่า แม้ว่า FED จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงก็ตาม แต่ทว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ยังคงต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้ง ในแง่ของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าประเทศอื่น
  5. กลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำเป็นการลงทุนในกองทุนประเภท FX Unhedged เนื่องจากต้นทุนการ Hedging ค่าเงินอยู่ในระดับสูง ทำให้นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเสียต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ส่งผลให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าใช้จ่ายกองทุนที่ต่ำ อีกทั้งค่าเงินบาทในระยะข้างหน้ามีโอกาสอ่อนค่ามากกว่าแข็งค่าทำให้นักลงทุนอาจได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากค่าเงิน

 

กองทุนแนะนำ INVX Top Pick: BGOLD

 

เลือกกองทุน BGOLD เนื่องจากเป็นกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินตามกลยุทธ์ที่ INVX มองว่าค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าในระยะข้างหน้า

จากกองทุนทองคำทั้งหมดในไทยที่ลงทุนตรงในกองทุนหลักทองคำเพียงกองทุนเดียวมีทั้งหมด 20 กอง โดยเป็นกองทุน FX Unhedged จำนวน 6 กองทุน

gold.jpg

Source: Morningstar and Fund Fact Sheet

 

INVX พิจารณาคัดเลือก BGOLD ใน 2 มุมประกอบกัน

  1. ค่าใช้จ่ายรวม (TER) ต่ำ : BGOLD เป็นกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายรวมถูกที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ที่ 0.73% ต่อปี*
  2. ขนาดกองทุน (Fund Size) มากกว่า 300 ล้านบาท (เกณฑ์เบื้องต้น) : เพื่อการบริหารสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ โดยกองทุน BGOLD มีขนาด 1,642 ล้านบาท สูงกว่าเกณฑ์เบื้องต้น และเป็นกองที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มกอง FX Unhedged

*กองทุน KT-GOLDUH-A มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด แต่ทั้งนี้ มีขนาดกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต้นในการคัดกรองของ INVX (เนื่องจากกองทุนเพิ่งจัดตั้งเมื่อมิถุนายน 2024) อย่างไรก็ตาม ถือเป็นทางเลือกของการลงทุนอีกทางหนึ่ง สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด

 

สรุปจุดเด่นของกองทุนและกองทุนหลัก SPDR Gold Shares (GLD)

  1. กองทุน BGOLD เน้นลงทุนในทองคำผ่านกองทุนหลัก SPDR Gold Trust (GLD)
  2. GLD มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive Management โดยอ้างอิงราคาทองคำ
  3. GLD ลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงเพื่อสร้างผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายของกองทุนให้เคลื่อนไหวสอดคล้องไปกับราคาทองคำ
  4. GLD ถือเป็นกองทุน ETF ขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง
  5. กองทุนหลัก GLD มีการจดทะเบียนซื้อขายในหลายตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกทั้งในสหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเม็กซิโก
  6. GLD ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงการลงทุนในทองคำได้ง่ายขึ้น
  7. GLD มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าหากเทียบกับการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง
  8. กองทุน BGOLD เป็นกองทุนทองคำประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มีขนาดใหญ่สุดในไทย โดยมีขนาดกองทุนกว่า 1,665 ล้านบาท มีสภาพคล่องสูง
  9. กองทุน BGOLD เป็นหนึ่งในกองทุนทองคำที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำเพียง 73% ต่อปี
  10. นับตั้งแต่จัดตั้ง เมื่อ 18 พ.ย. 2014 กองทุน GLD สามารถสร้างผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 7% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2024)

 

กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในทองคำผ่านกองทุนหลัก  SPDR® Gold Trust (GLD) ที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive Management ซึ่งอ้างอิงราคาทองคำในตลาดโลก (LBMA Gold Price)

 

กองทุนหลักมีการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง ในปัจจุบันมีทองคำอยู่ในการครอบครองสูงถึง 870.78 ตัน ซึ่งสูงกว่าทองคำสำรองของประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น (846 ตัน) และสหราชอาณาจักร (310 ตัน) อีกด้วย

 

นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว กองทุน GLD มีทรัพย์สินรวมคิดเป็นมูลค่ากว่า 71,245 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นกองทุน ETF ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง และมีทรัพย์สินมากกว่ากองทุน ETF ที่ลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงอันดับ 2 อย่าง iShares Gold Trust (IAU) มากกว่าถึง 2 เท่า

 

โดยกองทุนหลัก GLD ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2004 และจดทะเบียนซื้อขายในหลายตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งในสหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเม็กซิโก ทั้งนี้กองทุนหลัก GLD ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้นักลงทุนทั่วไปเข้าถึงการลงทุนในทองคำได้ง่ายมากขึ้น โดยมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงดังนี้

  • จดทะเบียนซื้อ-ขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NYSE Arca ของสหรัฐฯ ซึ่งมีสภาพคล่องสูง
  • ค่าใช้จ่ายถูกกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในทองคำแท่งโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ และขนส่งทองคำแท่ง
  • มีความโปร่งใสสูง โดยนักงทุนสามารถเข้าไปตรวจสอบมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนหลักได้ทุกเมื่อที่ com
  • มีความยืดหยุ่นสูง และซื้อขายทั่วไปเหมือนหลักทรัพย์ในตลาดหุ้น ทำให้นักลงทุนทั่วไปมีสัดส่วนการลงทุนในทองคำได้ง่ายมากขึ้น

ทั้งนี้ กองทุน BGOLD ลงทุนในกองทุนหลัก SPDR® Gold Trust (GLD) แบบไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedged) สอดรับมุมมองด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางเรามองว่าเงินบาทในระยะข้างหน้ามีโอกาสอ่อนค่ามากกว่าแข็งค่า

และกองทุน BGOLD ยังเป็นหนึ่งในกองทุนรวมทองคำแบบไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedged) ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยมีค่าธรรมเนียมการจัดการเพียง 0.54% ต่อปี และมีอัตราค่าใช้จ่ายรวมที่ 0.73% ต่อปี รวมถึงยังไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อ-ขายอีกด้วย

นอกจากนี้กองทุน BGOLD เป็นกองทุนทองคำประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มีขนาดใหญ่สุดในไทย โดยมีขนาดกองทุนกว่า 1,665 ล้านบาท มีสภาพคล่องสูง

 

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักย้อนหลัง (ณ วันที่ 31 ส.ค. 2024)

  • ผลการดำเนินงานในช่วง 1 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทน 28.9% เทียบกับทองคำที่สร้างผลตอบแทน 29.4%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 11.0% เทียบกับทองคำที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 11.5%
  • ผลการดำเนินงานในช่วง 5 ปี กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10.0% เทียบกับทองคำที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10.5%
  • ผลการดำเนินงานตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุนเมื่อ 18 พ.ย. 2014 กองทุนหลักสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 8.7% เทียบกับทองคำที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 9.2%

Source: Morningstar and SPDR® as of 31 August 2024

 

คลิกที่นี่เพื่อดูกองทุนเคาะซื้อใน INVX Satellite Portfolio ล่าสุด

 

คำเตือน: ผลการดำเนินในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนที่ได้รับในอนาคต กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวนได้ที่บล.อินโนเวสท์ เอกซ์

Most Viewed Ideas
1/5
Related Ideas
Most Viewed Ideas
1/5