Macro Making Sense 1
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 27 ม.ค. 2568

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|27 Jan 25 8:11 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นทรัมป์ส่งสัญญาณแข็งกร้าวในเวทีดาวอส

  • ทรัมป์ส่งสัญญาณแข็งกร้าวในเวทีดาวอส กดดัน OPEC-เฟด ทรัมป์ ปราศรัยผ่านวิดีโอในเวทีประชุมเศรษฐกิจโลก (WEF) ส่งสัญญาณกดดันหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน OPEC ให้เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อลดราคาน้ำมัน อ้างว่าจะช่วยยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เงินเฟ้อลดลง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางอื่น ๆ สามารถลดดอกเบี้ยได้ เรามองว่า การประกาศนโยบายพลังงานของทรัมป์ในเวทีดาวอสสะท้อนวิสัยทัศน์ที่จะใช้อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อเนื่องจากยุคไบเดน โดยเฉพาะการส่งออก LNG ไปยุโรปที่ทำให้การส่งออกสุทธิเป็นบวกและผลักดัน GDP โตถึง 3%

  • ประเด็นสำคัญอยู่ที่การกดดันซาอุดีอาระเบียและ OPEC ให้เพิ่มกำลังการผลิต 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลตลาดน้ำมันโลก หากราคาน้ำมันลดลง 5-10 ดอลลาร์จากปัจจุบัน จะทำให้เงินเฟ้อลดลง 0.2-0.5% จาก 2.9% เหลือ 2.4-2.7% หากแผนนี้สำเร็จ จะเปิดทางให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ยได้เร็วขึ้น

  • สรุปสงครามการค้า สหรัฐ-จีน-ยุโรป (1) สหรัฐ-จีน ข้อตกลงการค้าเฟส 1 ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ปี 2020 ระบุว่า : จีนตกลงเพิ่มการซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ อย่างน้อย 2 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ภายใน 2 ปี (เป้ารวมเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์) อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ทำให้เป้าหมายการซื้อขายไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ทำให้การประเมินผลข้อตกลงเฟส 1 อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจาการค้าครั้งใหม่ หรือใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการขึ้นภาษี
  • (2) มาตรการภาษีระหว่างสหรัฐ-ยุโรป สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปยังคงดำเนินต่อไป ฝั่งสหรัฐฯ ใช้มาตรา 301 เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 7.5-25% และมาตรา 232 เก็บภาษีเหล็ก 25% และอลูมิเนียม 10% โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง

  • (3) ในสมัย ทรัมป์ 2.0 ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี 3 ประเทศ โดยจะเก็บภาษี 25% กับแคนาดาและเม็กซิโก และ 10% กับจีน ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 0.4%

  • เรามองว่า ในระยะสั้น ทรัมป์ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นภาษีแต่ยังคงใช้เป็นเครื่องมือกดดันการเจรจาการค้า โดยเฉพาะกับจีนและยุโรป ขณะที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ พร้อมผลักดันลดภาษีนิติบุคคลจาก 21% เหลือ 15% ในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานและการลดภาษีนิติบุคคล อาจเปิดทางให้ทรัมป์กลับมาใช้มาตรการกีดกันการค้าอย่างเต็มรูปแบบในระยะต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศ

  • BOJ ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 สะท้อนถึงความมั่นใจต่อแนวโน้มเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

  • เราคาดว่า BOJ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2025 สู่ระดับ 0.75% โดยมีโอกาสที่จะปรับขึ้นครั้งที่ 3 หากเงินเฟ้อยังคงอยู่เหนือเป้าหมาย 2% และค่าเงินเยนไม่แข็งค่าขึ้นมากเกินไป ทั้งนี้ การสื่อสารนโยบายที่ชัดเจนของ BOJ แม้จะช่วยลดความผันผวนในตลาด แต่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกลไกตลาดในระยะยาว รวมถึงอาจผูกมัด BOJ ไม่ให้ทำนโยบายการเงินเพื่อตอบสนองต่อความผันผวนต่อเศรษฐกิจเท่าที่ควร
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5