Macro Making Sense 3
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – 30 ม.ค. 2568

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|30 Jan 25 8:16 AM
สรุปสาระสำคัญ

ผลการประชุม FOMC วันที่ 28-29 ม.ค. “Wait-and-see”

 

  • 4 key takeaways จากการประชุม FOMC

  • FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.25-4.5% โดยมีการปรับเปลี่ยนถ้อยแถลง เช่น การปรับข้อความเกี่ยวกับตลาดแรงงานให้สะท้อนความแข็งแกร่งมากขึ้น และการตัดข้อความที่กล่าวถึงความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ออก

  • ในการแถลงข่าว พาวเวลล์ ส่งสัญญาณระมัดระวังในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยยืนยันว่าเฟดไม่เร่งรีบที่จะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมหลังจากที่ลดไปแล้ว 1% แม้จะเชื่อว่านโยบายการเงินอยู่ในจุดที่เหมาะสมและเห็นสัญญาณบวกจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่ต้องการเห็นหลักฐานชัดเจนว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงสู่เป้าหมาย 2% อย่างต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็นต่อประเด็นทางการเมืองและนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ขณะที่ตลาดหุ้นแสดงความอ่อนไหวต่อการสื่อสารของเฟด โดยปรับตัวลงเมื่อมีการตัดข้อความเกี่ยวกับความคืบหน้าในการควบคุมเงินเฟ้อ แต่ฟื้นตัวขึ้นหลังได้รับคำอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำไม่มีนัยสำคัญ

  • หลังการประชุมทรัมป์โจมตี พาวเวลล์ ผ่าน Truth Social ว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อและการกำกับดูแลธนาคาร พร้อมประกาศว่าจะไม่ต่อวาระพาวเวลล์ในปี 2026 และยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย ขณะที่เสนอแผนแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการลดกฎระเบียบและฟื้นฟูการผลิตในประเทศ พร้อมวิพากษ์ว่าเฟดให้ความสำคัญกับประเด็นก้าวหน้า เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนโยบาย DEI (Diversity, Equity, and Inclusion) มากเกินไป จนละเลยการแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

  • ผลกระทบต่อตลาด: ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง 0.47% หลังจากที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวลดลงมากถึง 0.9% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 และ 10 ปี อยู่ที่ 4.22% และ 4.53% ส่วนดัชนีดอลลาร์ (DXY) อยู่ที่ 107.94 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นแม้เฟดจะลดดอกเบี้ย ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอายุ 30 ปีอยู่ที่ 7.02% ในเดือน ม.ค.

  • เรามองว่า
    1. FOMC เฟดยังคงยืนยันความเสี่ยงต่อเป้าหมายการจ้างงานและเงินเฟ้อมีความสมดุล และจะพิจารณาปรับนโยบายการเงินตามข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามา สะท้อนท่าทีที่ระมัดระวังมากขึ้นโดยเฉพาะในประเด็นเงินเฟ้อ และต้องการเห็นหลักฐานการชะลอตัวของเงินเฟ้อที่ชัดเจนขึ้นก่อนพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย

    2.ตลาดการเงินเริ่มไม่เป็นบวกต่อภาพเศรษฐกิจนัก จาก (1) หุ้นตอบสนองในเชิงลบต่อท่าทีที่ระมัดระวังของเฟด (2) Yield curve ที่ชันขึ้น (spread ระหว่างพันธบัตร 2 ปีและ 10 ปี ที่ 0.31%) (3) อัตราดอกเบี้ยจำนองสูงกระทบภาคอสังหาริมทรัพย์

    1. แรงกดดันทางการเมืองจากนโยบายทรัมป์จะมีมากขึ้น ทำให้ (1) ความเป็นอิสระของเฟดอาจเริ่มสั่นคลอน (2) ข้อเสนอนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์อาจสร้างความไม่แน่นอนต่อตลาด โดยในช่วงแรกอาจทำให้เงินเฟ้อลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากฐานราคาน้ำมันสูง แต่ในระยะต่อไปการเนรเทศผู้อพยพ สงครามการค้า และการลดภาษีนิติบุคคลอาจทำให้ความคาดหวังเงินเฟ้อพุ่งขึ้นและลดดอกเบี้ยได้ยาก (3) ประเด็น เชิงสังคม เช่น DEI และสิ่งแวดล้อมกลายเป็นจุดขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น

    2. การทำงานของ Fed จะท้าทายมากขึ้นจากการรักษาสมดุลระหว่างการควบคุมเงินเฟ้อและการสนับสนุนเศรษฐกิจ และการรักษาความเป็นอิสระจากการเมือง

    3. เราคาดว่า เรายังเชื่อว่าจะลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้ โดยลดต้นปี จาก (1) มาตรการของรัฐบาลทรัมป์ที่ยังไม่เปลี่ยนมาก (โดยเรามองว่านโยบายทรัมป์จะรุนแรงขึ้นครึ่งปีหลัง ซึ่งจะกดดันความคาดหวังเงินเฟ้อ) (2) เงินเฟ้อจะลดลงในช่วงครึ่งปีแรก จากปัจจัยฐานสูง (โดยเฉพาะราคาน้ำมัน) และนโยบายทรัมป์ในการกดดัน OPEC รวมถึงสนับสนุนให้สหรัฐเพิ่มกำลังการผลิต (3) ดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่สูงขึ้นเริ่มทำร้ายประชาชน โดยเฉพาะ mortgage rate ที่อยู่สูง ตามมุมมอง Rob Kaplan (4) ความเสี่ยงความผันผวนทางการเงินจะมีมากขึ้นในระยะต่อไป จากดอกเบี้ยที่ยังสูงและการทำ QT ต่อเนื่อง

 

Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5