Keyword
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – สหรัฐฯ คงภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยที่ 36% เพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|9 Jul 25 8:30 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% พร้อมเลื่อนเส้นตายการเจรจาไปถึงวันที่ 1 ..

  • สหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% ขณะที่มีการปรับลดอัตราภาษีให้กับหลายประเทศ เราประเมินว่าความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้ยกระดับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงปรับเพิ่มความน่าจะเป็นของสถานการณ์เลวร้ายที่ไทยจะเผชิญกับภาษีศุลกากร 36% จากเดิม 2% เป็น 10%
  • เรามองว่า ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-เวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2025 อาจเป็นฐานสำหรับการเจรจาการค้าของไทย โดย (1) ไทยอาจต้องลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 0% เช่นเดียวกับเวียดนาม และ (2) ไทยจะต้องนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้นอีกมาก โดยหากการเจรจาสำเร็จ และทำให้ภาษีลดลงเหลือ 15-20% GDP จะเติบโต 1.1-1.4% ในปี 2025 (ความน่าจะเป็น 30%) แต่หากภาษี 21-28% GDP จะขยายตัว 1.0-0.0% (ความน่าจะเป็น 50%) ส่วนในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากต้องเผชิญภาษี 29-36% GDP อาจหดตัวที่ (-0.1%)-(-1.1%) (ความน่าจะเป็น 20%)
  • ผลกระทบจากมาตรการภาษีดังกล่าวคาดว่าจะกดดันเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 อย่างชัดเจน โดยเฉพาะจากภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้เราคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีอาจเข้าสู่ภาวะ “ถดถอยเชิงเทคนิค”
  • ภายใต้บริบทที่ไทยยังมีการนำเข้าสินค้าเกษตร ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ อยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะต้องนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้า ขณะเดียวกัน อาจมีการเปิดให้นำเข้าสินค้าใหม่ ๆ ที่เคยถูกจำกัดด้วยอัตราภาษีนำเข้าสูง อาทิ เนื้อสัตว์ รถยนต์ และเครื่องจักรกลการเกษตร
  • ในระยะสั้น เป็นไปได้ว่าไทยจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เพื่อรองรับแรงกดดันจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและความเชื่อมั่นของภาคเอกชนอย่างชัดเจน ภาครัฐจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลังที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น มาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และการสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงผลักดันการเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน นโยบายการเงินควรมีบทบาทสนับสนุนมากขึ้น ท่ามกลางภาวะการเงินที่ตึงตัวและแรงกดดันต่อการเติบโตที่เพิ่มขึ้น หากการเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ เราเห็นความเป็นไปได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบฉุกเฉิน (emergency cut) ในเดือน ส.ค. อีก 25 bps เพื่อรองรับแรงกระแทกในระยะสั้น และป้องกันความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในภาพรวม.
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5