Keyword
PDF Available  
Macro Making Sense

Macro Making Sense – เงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. หดตัว -0.25%YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

By ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์|8 Jul 25 8:02 AM
สรุปสาระสำคัญ

สรุปประเด็นเงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. หดตัว -0.25%YoYและลดลงมากกว่าที่เราและตลาดคาดที่ -0.1% YoY

  • ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือน มิ.ย. 2025 ลดลง -0.25% YoY และเพิ่มขึ้น +0.02% MoM ลดลงน้อยกว่าเดือนก่อนที่ -0.57% YoY และลดลงมากกว่าที่เราและตลาดคาดที่ -0.1% YoY โดยปัจจัยฉุดเงินเฟ้อหลัก ได้แก่ ราคาพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าไฟฟ้า) ที่ลดลงจากราคาน้ำมันโลกและมาตรการลดค่า Ft / ราคาผักสด ผลไม้สด และไข่ไก่ ที่ลดลงจากผลผลิตที่ออกมากตามฤดูกาลและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย / สินค้าอุปโภคบางประเภท เช่น เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง และของใช้ส่วนบุคคลบางชนิด ยังปรับลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสำเร็จรูป เนื้อสุกร เครื่องปรุงอาหาร และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและสัตว์เลี้ยง ซึ่งยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น

  • เรามองว่า เงินเฟ้อไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มยังคงทรงตัวอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท. จาก (1) Momentum ราคาพลังงานในตลาดโลก ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำหรือลดลงต่อเนื่อง ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะชะลอตัวลง และส่งผลให้ราคาค้าปลีกน้ำมันในประเทศชะลอตัว (2) ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายหมวดยังถูกกดดันจากกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และการแข่งขันด้านราคาที่สูง (3) ต้นทุนการผลิตที่ลดลงตามราคาสินค้ากึ่งสำเร็จรูป โดยเฉพาะสินค้าจากจีนที่ราคาส่งออกยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรึงราคาสินค้าได้ต่อเนื่องทั้งนี้ (4) ราคาผักและผลไม้ที่ลดลงจากผลผลิตที่ออกมามากในปีนี้ กดดันเงินเฟ้อในหมวดอาหารสด

  • เรามองว่าเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2025 จะยังคงอยู่ในระดับต่ำ และคาดว่าจะเติบโตเพียง 0.5% YoY ใกล้เคียงค่ากลางของกรอบคาดการณ์กระทรวงพาณิชย์ (0.0–1.0%)

  • ทำให้ นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมได้ เราจึงคงมุมมองว่า ธปท. ควรปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งภายในปี 2025 ในรอบการประชุมเดือน ส.ค. และ ต.ค. รวม 0.50% นำดอกเบี้ยลงสู่ ระดับ 1.25% ต่อปี

  • ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือน มิ.ย. 2025 ลดลง -0.25% YoY และเพิ่มขึ้น +0.02% MoM ลดลงน้อยกว่าเดือนก่อนที่ -0.57% YoY และลดลงมากกว่าที่เราและตลาดคาดที่ -0.1% YoY โดยปัจจัยฉุดเงินเฟ้อหลัก ได้แก่ ราคาพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าไฟฟ้า) ที่ลดลงจากราคาน้ำมันโลกและมาตรการลดค่า Ft / ราคาผักสด ผลไม้สด และไข่ไก่ ที่ลดลงจากผลผลิตที่ออกมากตามฤดูกาลและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย / สินค้าอุปโภคบางประเภท เช่น เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง และของใช้ส่วนบุคคลบางชนิด ยังปรับลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสำเร็จรูป เนื้อสุกร เครื่องปรุงอาหาร และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและสัตว์เลี้ยง ซึ่งยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น

  • กระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 3 จะยังทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาส 2 โดยมีปัจจัยฉุดเงินเฟ้อ: 1) ราคาน้ำมันดิบลดลงจากปีก่อน หลังสถานการณ์ตะวันออกกลางคลี่คลายลง 2) ภาครัฐยังดำเนินมาตรการลดค่าไฟฟ้า (งวด พ.ค.–ส.ค.) เหลือ 3.98 บาท/หน่วย เพื่อลดภาระค่าครองชีพ 3) ฐานราคาผักสดปีก่อนอยู่ในระดับสูงจากภัยธรรมชาติ ขณะที่ในปีนี้ผลผลิตออกมากขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของ modern trade เพื่อสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ปัจจัยเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ: 1) ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศยังอยู่ที่ระดับสูงกว่า 31 บาท/ลิตร 2) ราคาสินค้าเกษตรและวัตถุดิบอาหารบางรายการยังมีแนวโน้มปรับขึ้น เช่น เนื้อสุกร น้ำมันพืช น้ำพริกแกง มะพร้าว และกาแฟ
Author
Slide3
ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5