5 Bites Breakfast

5 Bites Breakfast - 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนเทรด วันนี้ 21 พ.ค. 2568

21 May 25 8:00 AM
Strategy
สรุปสาระสำคัญ

1. S&P 500 เริ่มพักตัว หลังขึ้นแรงจนเข้าโซน Overbought

2. น้ำมันพุ่งแรง หลังมีรายงานอิสราเอลเตรียมโจมตีอิหร่าน

3. ตลาดบอนด์ญี่ปุ่นผันผวนหนัก – นักลงทุนเมินซื้อ

4. Fed เตือนภาษีกระทบเศรษฐกิจ – ชี้อาจกดดันจ้างงาน-เงินเฟ้อ

5. ขาดดุลงบประมาณจีนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ – เร่งอัดฉีดเศรษฐกิจ

5 Bites Breakfast - 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนเทรด วันนี้ 21 พ.ค. 2568

1. ดัชนี S&P 500 ปรับลดลง 0.4% หลังพุ่งขึ้นต่อเนื่องกว่า 6 วัน มูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นถึง $8.6 ล้านล้าน นับจากจุดต่ำสุดในเดือนเมษายน โดยนักลงทุนเริ่มกังวลว่าเข้าสู่ภาวะ Overbought ขณะ Big Tech อย่าง Alphabet -1.5% กดดันตลาด ด้าน Tesla เป็นหนึ่งในไม่กี่หุ้นใหญ่ที่บวก จากคำยืนยันของ Elon Musk ว่าจะบริหารต่ออีก 5 ปี ขณะที่บอนด์ยีลด์ขยับขึ้น ท่ามกลางความกังวลเรื่องการขาดดุลและการเจรจาลดภาษีที่ยังไร้ข้อสรุป

 

2. ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้นสูงสุดถึง 3.5% ก่อนปรับฐานเล็กน้อย หลัง CNN รายงานว่าอิสราเอลอาจเตรียมโจมตีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันโลกถึง 1 ใน 3 นักวิเคราะห์เตือนว่า หากความขัดแย้งยืดเยื้อ อาจหนุนให้ราคาน้ำมันยังคงมี risk premium ต่อเนื่อง ขณะที่การเจรจานิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ–อิหร่านดูจะไร้ผล และอาจล่มลงโดยสิ้นเชิงหากเกิดการโจมตี

 

3. นักลงทุนแห่ขายพันธบัตรญี่ปุ่นระยะยาวหลัง BOJ เดินหน้าลดการเข้าซื้อ โดยการประมูลบอนด์อายุ 20 ปีได้ผลตอบรับแย่ที่สุดในรอบกว่า 10 ปี ส่งผลให้ยีลด์พุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000 ขณะนักลงทุนเริ่มหวั่นว่าอาจเกิด "buyers' strike" หาก BOJ ไม่ลด QE อย่างระมัดระวัง ตลาดจับตาการหารือกับสถาบันการเงินเพื่อประเมินความเหมาะสมของแผน tapering ก่อนการประชุม BOJ วันที่ 17 มิ.ย. นี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งเศรษฐกิจในประเทศและนโยบายการคลัง

 

4. ประธาน Fed สาขา St. Louis, Alberto Musalem ระบุว่าภาษีแม้จะลดลงชั่วคราวจากการเจรจา 90 วันกับจีน แต่ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งการเติบโตและตลาดแรงงาน โดยเตือนว่า “การมองข้ามผลเงินเฟ้อจากภาษี อาจเป็นความผิดพลาด” แม้เศรษฐกิจยังแสดงความแข็งแกร่งในภาพรวม เขาย้ำว่า Fed ควรเน้นเสถียรภาพของเงินเฟ้อมากกว่าการผ่อนนโยบายในระยะนี้ หากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังยืดเยื้อ

 

5. จีนเผชิญขาดดุลงบประมาณ 2.65 ล้านล้านหยวน (ประมาณ $367 พันล้าน) ในช่วง ม.ค.–เม.ย. 2025 เพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์สำหรับช่วงเวลา 4 เดือน สะท้อนการเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อรับมือเศรษฐกิจภายในที่ยังเปราะบางและแรงกดดันจากภายนอก

 

ประเด็นที่ต้องติดตาม: EIA Gasoline Stocks Change ของสหรัฐฯ

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5