เราคาดกำไรปกติจากการดำเนินงาน 1Q25 จะหดตัวลงทั้ง YoY และ QoQ จาก 1) ยอดขายจะหดตัวในระดับ mid to high single digit YoY จากค่าเงินบาทที่แข็งค่า และยอดขายปกติที่ลดลง (ลดลงระดับ mid to high single digit YoY ใน ambient unit และลดลง 15% YoY ใน frozen unit จากจากความต้องการที่ลดลงใน US และ Europe รวมถึงราคาปลาทูน่าที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกค้า ambient OEM อยู่ใน mode wait & see, หักล้างการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย low single digit YoY ใน pet care unit) 2) SG&A/sales ปรับตัวขึ้นจากค่าใช้จ่าย transformation ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด และค่าขนส่งที่สูงขึ้น 3) effective tax rate คาดเพิ่มไปอยู่ที่ 10-12% (vs 11% 1Q24 และ 7.5% 2024) จากค่าใช้จ่ายภาษี GMT ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดหักล้างกับ GPM ที่เพิ่มขึ้น YoY จากธุรกิจ ambient ที่มี inventory ราคาปลาที่ต่ำเป็นหลัก
ผลกระทบจากการขึ้นภาษี US คาดผลกระทบโดยตรงมีพอสมควร โดยปัจจุบันบริษัทมียอดขายใน US & Canada เกือบ 40% โดยในส่วนนี้มีบางส่วนผลิตในประเทศ (นำเข้าเนื้อทูน่า loin จากไทยไปแปรรูปในโรงงาน US) และที่เหลือมีการนำเข้า โดย ambient นำเข้าจากไทย อินเดีย เวียดนามเป็นหลัก และ Frozen นำเข้าจากอินโดนีเซียและจีนเป็นหลัก แผนรับมือในระยะสั้น บริษัทมีการปรับเพิ่ม inventory ใน US ในช่วงที่ผ่านมาเป็น 3-6 เดือนเพื่อรองรับกับคำสั่งซื้อในระยะสั้น ซึ่งปัจจุบันผู้ซื้อใน US อยู่ใน mode wait & see โดยรอฟังความคืบหน้าการเจรจาภาษี เพื่อทราบภาษีที่แท้จริงของประเทศต่างๆ แผนระยะกลางถึงยาว บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการโยกการผลิตโรงงานของ TU ที่ประเทศกาน่า (ผลิตป้อนลูกค้า ambient ใน US) ในการมาส่งที่ US เพิ่มขึ้นแทนประเทศไทย แต่ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน และยังไม่สามารถทดแทนการผลิตที่ไทยทั้งหมดได้ โดยบริษัทเชื่อว่าหากแผนภาษีเป็นตามนี้จริง จะมีผลกระทบกับผู้ซื้อใน US ในการส่งผ่านราคาที่เพิ่มสูงค่อนข้างมาก เพราะกว่า 90% ของอาหารประเภทซีฟู้ดมาจากการนำเข้า (ส่วนใหญ่เป็นเอเชีย และไม่สามารถถูกทดแทนด้วยสินค้าบางประเภทของละตินอเมริกาได้ทั้งหมด)
ผลกระทบจากการขึ้นภาษี US โดยอ้อม หากรัฐบาลไทยมีการเจรจาให้ประเทศไทยมีการนำเข้าปลาทูน่านำเข้าจากเรือธง US บริษัทมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนการใช้แหล่งวัตถุดิบปลาทูน่า เพื่อมาใช้ผลิตในเมืองไทยได้