จัดการภาษีส่วนบุคคล

เทียบชัดทุกมุม ลงทุนใน SSF และ RMF แบบเงินก้อนหรือ DCA ดี ?

1 Jun 24 12:00 AM
เทียบชัดทุกมุม ลงทุนใน SSF และ RMF แบบเงินก้อนหรือ DCA ดี ?
สรุปสาระสำคัญ

อยากลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี จะลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA หรือแบบเงินก้อนดี?

มาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับคุณกันครับ

เทียบข้อดี ลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA VS เงินก้อน

 

สำหรับนักลงทุนแล้ว ‘การวางแผนภาษี’ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และนอกจากจะวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว การซื้อกองทุนประหยัดภาษี ก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน บทความนี้จึงจะมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า หากจะลงทุนกองทุนประหยัดภาษีอย่าง SSF และ RMF ควรซื้อแบบทยอยซื้อ (DCA) หรือซื้อแบบเงินก้อน (Lump Sum) ดี เพื่อเป็นข้อมูลให้นักลงทุนสามารถวางแผนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในระยะยาว

 

การซื้อกองทุน SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี

 

รู้จักกองทุน SSF และ RMF คืออะไร ทำไมต้องมีติดพอร์ต ?

 

กองทุน SSF กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว

 

กองทุน SSF มีชื่อเต็มว่า Super Saving Funds เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมในระยะยาว ลงทุนในหลักทรัพย์หลากหลายประเภท ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำและไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี สามารถซื้อและนำมาลดหย่อนได้ในปี 2563-2567

 

กองทุน RMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

 

กองทุน RMF หรือ Retirement Mutual Fund ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้คนไทยออมเงินให้พร้อมสำหรับการเกษียณ หากซื้อกองทุนนี้แล้ว ต้องถือไว้ขั้นต่ำ 5 ปี และจะขายได้หลังจากอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 500,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ สามารถลงทุนได้ทั้งปีและไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเรื่องความแตกต่างของกองทุน SSF และ RMF แบบเจาะลึกเพื่อวางแผนลดหย่อนภาษี สามารถศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนได้ที่นี่เลย

 

ข้อดีของการลงทุนแบบ Lump Sum

 

การลงทุนแบบ Lump Sum เป็นการลงทุนแบบใช้เงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว โดยต้องมั่นใจว่าช่วงเวลาที่ลงทุนไปนั้น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยอาศัยการจับจังหวะการซื้อขายและการวิเคราะห์สภาพตลาด ส่วนข้อดีของการซื้อกองทุน SSF และ RMF ด้วยวิธีนี้ ได้แก่

 

- ได้ฝึกฝนการจับจังหวะตลาดก่อนลงทุน รวมทั้งการวิเคราะห์สภาพตลาดและสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในขณะนั้น เพื่อนำไปต่อยอดโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุนด้วย

 

- หากจับจังหวะถูก เข้าซื้อในช่วงที่เป็นขาขึ้น ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงตามที่คาดหวังเอาไว้ 

 

ลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA ดีอย่างไร?

 

ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA

 

การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยเงินลงทุนที่เท่า ๆ กัน เรียกง่าย ๆ ว่าการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย โดยข้อดีของการลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA มีดังต่อไปนี้

- ฝึกฝนวินัยการออมและการลงทุนจากการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ

- ลงทุนได้โดยไม่ต้องรอจับจังหวะตลาด จึงเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์

- ลดความผันผวนในการลงทุน และช่วยลดราคาต้นทุนจากการเฉลี่ยราคาที่ซื้อกองทุนในแต่ละเดือน

- ไม่ต้องมีเงินก้อนก็สามารถลงทุนได้ เนื่องจากกองทุนลดหย่อนภาษีไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ

 

 

เปรียบเทียบการลงทุนกองทุน SSF และ RMF ระหว่างแบบ DCA และ แบบ Lump Sum

 

จากข้อดีของการลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA และแบบ Lump Sum ที่เรากล่าวถึงกันไปด้านบน ก็มาถึงข้อสรุปว่าสุดท้ายแล้ว ควรจะเลือกลงทุนแบบ DCA หรือแบบ Lump Sum ดี คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยคุณสามารถเช็กว่าตัวเองเหมาะกับการลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ DCA หรือแบบ Lump Sum ได้ด้วยการใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเหล่านี้

 

 

ผู้ที่เหมาะกับการลงทุนแต่ละรูปแบบ

 

หุ้การลงทุนแบบ DCA เหมาะกับผู้ที่ต้องการทยอยลงทุนในระยะยาว อยากลงทุนในสภาวะตลาดที่ผันผวน รวมถึงผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การลงทุนและไม่มีเวลาติดตามตลาดมากนัก ส่วนการลงทุนแบบ Lump Sum ตอบโจทย์กับคนที่มีเงินก้อนพร้อมลงทุนแบบไม่เดือดร้อน มีประสบการณ์การลงทุนสูง สามารถวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเพื่อจับจังหวะการลงทุนให้มีกำไรได้

 

 

การกระจายความเสี่ยงที่มองหา

 

การลงทุนกองทุนแบบ Lump Sum ถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าแบบ DCA เนื่องจากต้องจับจังหวะให้ถูก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้ซื้อของแพงหรือขายของถูก ดังนั้น หากคุณรับความเสี่ยงได้ไม่สูง แนะนำว่าเลือกลงทุนแบบ DCA จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่า

 

 

จำนวนหน่วยลงทุนที่ต้องการ

 

โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทั่วไปหรือลงทุนกองทุน SSF และ RMF การลงทุนแบบ DCA มักมีโอกาสได้รับจำนวนหน่วยลงทุนที่มากกว่าในจำนวนเงินที่เท่ากัน เนื่องจากเป็นการซื้อแบบถัวเฉลี่ยราคา จึงช่วยลดความผันผวนของต้นทุนได้นั่นเอง

 

 

โอกาสในการสร้างผลตอบแทน

 

การลงทุนกองทุน SSF และ RMF แบบ Lump Sum มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าแบบ DCA แต่ก็ต้องอาศัยประสบการณ์จับจังหวะในการลงทุนที่แม่นยำ รวมถึงต้องมีเวลาในการติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดด้วย

 

 

ผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

 

สุดท้าย ไม่ว่าจะลงทุนใน SSF และ RMF แบบ Lump Sum หรือแบบ DCA ก็ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากทยอยซื้อเพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีล่วงหน้า หรือรอเก็บเงินก้อนแล้วใช้เงินก้อนนั้นซื้อกองทุนเพียงครั้งเดียวในช่วงปลายปี

 

อยากซื้อกองทุน SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ที่แอปพลิเคชัน InnovestX แอปเดียวครบทุกจักรวาลการลงทุน ทำเรื่องกองทุนลดหย่อนภาษีให้เป็นเรื่องง่าย จัดพอร์ตแบบ DIY ได้ตามใจ มีกองทุนให้เลือกมากถึง 19 บลจ. หรือจะลงทุนตามสูตรแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก็ทำได้สะดวก ดาวน์โหลดได้ฟรีผ่านระบบ iOS และ Android

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง:

กองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ต่างกันตรงไหน เลือกลงทุนอันไหนดี?. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.innovestx.co.th/knowledge-hub/detail/investment-by-asset/ssf-vs-rmf

ซื้อ SSF-RMF แบบไหนดี? DCA ตลอดทั้งปี หรือซื้อเป็นเงินก้อนทีเดียวช่วงปลายปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/Cashury.th/posts/pfbid0cpB5uAx4xtu1DPhDdBTMVhUvqTYmg9uRGJoHGky1qmedptZcTYzVNZfN6WGNfhwtl

 

คำเตือน * การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

 

 
Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5