Banking
PDF Available  
บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม

ธนาคาร - มาตรการช่วยเหลือเพื่อลดภาระของลูกหนี้

By กิตติมา สัตยพันธ์, CFA|12 Dec 24 8:32 AM
สรุปสาระสำคัญ

ธปท.ประกาศมาตรการแก้หนี้ชุดใหม่ 2 มาตรการ ได้แก่: 1) การลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ SME และสินเชื่อเช่าซื้อที่ผิดนัดชำระเฉพาะกลุ่ม และ 2) การปิดจบหนี้สำหรับลูกหนี้ที่มียอดหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท โดยเงินช่วยเหลือลูกหนี้จะมาจากธนาคาร 50% และอีก 50% มาจากกองทุนที่ได้เงินมาจากการลดเงินนำส่ง FIDF ลง 23 bps สู่ 0.23% จากระดับปัจจุบันที่ 0.46%

เราคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2568 เพียงเล็กน้อย เนื่องจากเราคาดว่า upside จากการประหยัด credit cost ได้จะช่วยชดเชย downside ต่อผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อจาก EIR ที่ลดลง ขณะที่ในระยะยาว เราคาดว่าประโยชน์จากการประหยัด credit cost ได้จะมีมากกว่าส่วนสูญเสียจากการที่ธนาคารจะต้องรับภาระครึ่งหนึ่งจากการไม่เก็บดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี เราประเมินได้ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อ KKP และ TTB มากที่สุด

 

มาตรการแก้หนี้ชุดใหม่ เมื่อวานนี้ ธปท.ได้ออกมาตรการแก้หนี้ชุดใหม่ 2 มาตรการ ดังนี้:

  • การลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี ธนาคาร (รวมถึงบริษัทในเครือ) ต้องลดค่างวดให้กับลูกหนี้ โดยลูกหนี้ชำระค่างวดขั้นต่ำที่ 50% 70% และ 90% ของค่างวดเดิม ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ ซึ่งค่างวดทั้งหมดจะนำไปตัดเงินต้น และพักดอกเบี้ย 3 ปี โดยดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับยกเว้นทั้งหมด หากลูกหนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่อยู่ภายใต้มาตรการ สินเชื่อที่เข้าเงื่อนไข ได้แก่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (วงเงินไม่เกิน 5 ลบ.) สินเชื่อ SME ขนาดเล็ก (วงเงินไม่เกิน 5 ลบ.) สินเชื่อรถยนต์ (วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท) และสินเชื่อรถจักรยานยนต์ (วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท) โดยต้องเป็นสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 และมีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เป็นลูกหนี้ที่มีจำนวนวันค้างชำระตั้งแต่ 31-365 วัน หรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน แต่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 โดยลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการจะไม่สามารถกู้ยืมใหม่ได้ในช่วง 12 เดือนแรก และมีการรายงานข้อมูลเข้ามาตรการในเครดิตบูโร
  • การปิดจบหนี้ ธนาคาร (รวมถึงบริษัทในเครือ) ต้องช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ (เช่น การลดหนี้บางส่วน) สำหรับลูกหนี้ที่มียอดหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท และค้างชำระเกิน 90 วัน มาตรการนี้จะช่วยให้ลูกหนี้สามารถลบชื่อออกจากเครดิตบูโรได้

ลูกหนี้จะต้องลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 2567-28 ก.พ. 2568 โดยเงินช่วยเหลือลูกหนี้จะมาจากธนาคาร 50% และอีก 50% มาจากกองทุนที่ได้เงินมาจากการลดเงินนำส่ง FIDF ลง 23 bps สู่ 0.23% จากระดับปัจจุบันที่ 0.46%

 

มุมมองของเรา:  เราเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร โดยจะช่วยชะลอการไหลเข้าของ NPL และลดผลขาดทุนจากรถยึด แต่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อ NIM มาตรการดังกล่าวน่าจะช่วยชะลอการยึดรถ ซึ่งจะทำให้ราคารถมือสองฟื้นตัวได้ในปี 2568 และจะทำให้มีโอกาสที่ ECL สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ได้ ธนาคารจะใช้เวลา 1-3 ปีในการปลดสินเชื่อภายใต้มาตรการนี้ออกจากสถานะ NPL และสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) เราคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อประมาณการกำไรปี 2568 เพียงเล็กน้อย เนื่องจากเราคาดว่า upside จากการประหยัด credit cost ได้จะช่วยชดเชย downside ต่อผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อจาก EIR ที่ลดลง ขณะที่ในระยะยาว เราคาดว่าประโยชน์จากการประหยัด credit cost ได้จะมีมากกว่าส่วนสูญเสียจากการที่ธนาคารจะต้องรับภาระครึ่งหนึ่งจากการไม่เก็บดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี เราคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อ KKP และ TTB มากที่สุด

BBL ยังคงเป็นหุ้นที่เราให้เรทติ้ง OUTPERFORM เพียงตัวเดียวในกลุ่มธนาคาร เรายังคงเลือก BBL เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มธนาคาร เนื่องจาก: 1) valuation ถูกที่สุด 2) ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำที่สุด และ 3) คาดว่าสินเชื่อจะเติบโตสูงที่สุด

 

ความเสี่ยงที่สำคัญ: 1) ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง 2) ความเสี่ยงด้าน NIM จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และ 3) ความเสี่ยงด้าน ESG จากการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม

 

 

Relief measures to ease consumer debt load

 

The BoT announced two new debt relief measures: 1) a 3-year reduction in monthly loan repayments and waiver of interest on specified delinquent housing, SME and HP loans and 2) debt settlement for loans no larger than Bt5,000. The financial cost will be borne 50:50 by banks and a fund that will be set up for this purpose, with bank FIDF payments halved to 0.23% from the current level of 0.46%. We expect the measure to have minimal impact on 2025F earnings as we expect upside from credit cost savings to be offset by downside from loan yield from lower EIR. In the long term, we view the benefit from credit cost savings as larger than the losses from the 3-year interest waiver (50% co-payment). By our calculations KKP and TTB will benefit the most. 

 

New debt relief measures were announced yesterday by the BoT:

  • Three-year reduction in Ioan installment payments and interest waiver. Banks (and their subsidiaries) must grant debtors a 50% reduction in loan installment payments in the first year, 70% in the second year and 90% in the third year, with all payments applied to loan principal, as interest will be waived for three years if the borrowers comply with the conditions. Loans that are eligible include housing (up to Bt5mn), small SME (up to Bt5mn), auto (up to Bt800,000) and motorcycle (up to Bt50,000), must have been taken out before January 1, 2024 and are 31-365 days overdue or no more than 30 days overdue if they have been restructured (since January 1, 2022). The cut-off date for eligibility is October 31, 2024. Borrowers who opt into the plan must refrain from taking out new loans in the first year and their status will be flagged by the National Credit Bureau.
  • Debt settlement. Banks (and their subsidiaries) must grant debt settlement via easing debt restructuring terms (i.e. taking some haircut) for borrowers with loans outstanding of no larger than Bt5,000 that are more than 90 days overdue. This will pave the way for borrowers to clear their name at the National Credit Bureau.

To opt into the measure, eligible debtors must register via the BoT’s website between December 12, 2024 and February 28, 2025. Financing for the measures will be 50:50 between banks and a fund that will be set up for this purpose, with FIDF payments halved to 0.23% from the current level of 0.46%.

 

Our takes: We believe this will be positive to asset quality via eased NPL inflow and losses on repossessed cars but negative to NIM. The measure should reduce the number of repossessed cars and help used car prices recover in 2025, potentially lowering the ECL on HP loans than expectation. It will take 1-3 years for banks to declassify loans under the measures from NPL and special-mention (SM) status. We expect the measures to have minimal impact on 2025F earnings, as upside from credit cost savings will be offset by downside on loan yield from lower EIR. In the long term, we view the benefit from credit cost savings will be larger than the losses from the three years of interest waiver (50% co-payment). We expect the measures to benefit KKP and TTB the most.

 

Keep BBL as the sector’s only Outperform. We keep BBL as the sector pick as:
1) valuation is cheapest, 2) asset quality risk is lowest and 3) loan growth is expected to be highest.

 

Key risks: 1) Asset quality risk from an uneven economic recovery, 2) NIM risk from a cut in interest rates, and 3) ESG risk from market conduct.

 

Download EN version click >> BANK241212_E-(1).pdf

Author
Slide1
กิตติมา สัตยพันธ์, CFA

นักวิเคราะห์อาวุโสกลุ่มธุรกิจการเงิน

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5