Slide1
PDF Available  
Special Report

ประเมินผลกระทบจากกระแสเงินไหลออก LTF ช่วงต้นปี

8 Jan 25 8:00 AM
สรุปสาระสำคัญ
  • บทสรุป: INVX มองปีนี้แรงขายจากกองทุน LTF ที่ครบกำหนดที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี โดยเฉพาะเดือน ม.ค. มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลตอบแทนในช่วงปี 2019 (ปีสุดท้ายของ LTF ขายได้ในปีนี้) ยังมีผลขาดทุน อีกทั้งในปี 2025 คาดจะมีแรงซื้อจากกองทุน ThaiESG เข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบคล้ายกับช่วงก่อนปี 2020 แม้เงื่อนไขจะไม่ดีต่อตลาดทุนเท่า LTF แต่ดีกว่า SFF ในช่วงที่ผ่านมา

 

  • พิจารณาช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2022-2024) ที่เงื่อนไข LTF จะต้องครบ 7 ปีปฏิทิน พบว่ามีแรงขายในเดือน ม.ค. ราว 5.1-8.6 พันลบ. และจะขายเพิ่มเป็น 11-17 พันลบ. ตลอด 1Q ส่งผลให้ภาพทั้งปีมีแรงขายสุทธิ 23-38 พันลบ. โดยในช่วงดังกล่าวไม่มีเม็ดเงิน LTF ใหม่เพิ่มเข้ามา เทียบกับในช่วงที่มีการให้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่าน LTF (ปี 2019 เป็นปีสุดท้าย) พบว่า แม้จะมีแรงขายในเดือน ม.ค. และ 1Q แต่ภาพรวมทั้งปียังเป็นบวกหรือมีแรงซื้อสุทธิ

  • นักลงทุนมีแนวโน้มขาย LTF ช่วงต้นปีลดลง หากผลตอบแทนปีที่ซื้อติดลบเทียบกับช่วงต้นปีที่ครบเงื่อนไข เช่นปี 2016 และช่วง 2022-2024 ที่ผลตอบแทน LTF ติดลบเพิ่มขึ้น จะมียอดขายสุทธิลดลงต่อเนื่อง

  • INVX ประเมินว่า ผลกระทบจากการขาย LTF ช่วงต้นปี 2025 (ยอดซื้อ LTF ช่วงท้ายประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี) จะมีไม่สูงเหมือนในช่วง 2-3 ปีก่อน เนื่องจาก 1) เม็ดเงินไหลเข้าไปสู่ ThaiESG ทั้งจากเงินใหม่ และการ Roll Over และ 2) ผลตอบแทน LTF ที่จะครบกำหนดในปีปฏิทินนี้ เทียบกับ SET Avg. ในปี 4Q19 (บนมุมมองแรงซื้อ LTF ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงปลายปีเป็นส่วนใหญ่) ยังติดลบอยู่ 14%

  • กองทุน ThaiESG มองว่า จะมีบทบาทเข้ามารับเม็ดเงินการขาย LTF ในระยะต่อไป (คล้ายกับ LTF ในอดีต) และจะช่วยลดส่วนต่างเม็ดเงินการขายโดยรวมของกองทุนลดหย่อนภาษีชนิดต่างๆ
Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5